Web Site Hit Counters

ค้นหาข้อมูลในบล็อก

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

บทที่ 4 ผลการดำเนินงานโครงการ

บทที่ 4 ผลการดำเนินงานโครงการ การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger เรื่องระบบเครือข่ายเบื้องต้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้ 4.1 ผลการพัฒนาเว็บบล็อก การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger เรื่อง ระบบเครือข่ายเบื้องต้นนี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ http://www.blogger.com จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ https://khaowongmsu.blogspot.com/ ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดย เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานโครงการ

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger เรื่องระบบเครือข่ายเบื้องต้นนี้ ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา 3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3.1.2 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ www.blogger.com 3.1.3 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น www.facebook.com www.hotmail.com www.google.com 3.1.4 โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ เช่น Adobe Photoshop CS6 และ PhotoScape2.0 3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.2.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน 3.2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องระบบเครือข่ายเบื้องต้น ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป 3.2.3 ศึกษาการสร้างเว็บบล็อกที่สร้างจากเว็บไซต์ Blogger จากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเทคนิค วิธีการสร้างเว็บบล็อก 3.2.4 จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาผ่าน edmodu 3.2.5 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger เรื่องระบบเครือข่ายเบื้องต้น โดยการสมัครสมาชิก และสร้างบทเรียนที่สนใจตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอไว้แล้ว ทั้งนี้ได้นำเสนอบทเรียนผ่านเว็บบล็อกที่ https://khaowongmsu.blogspot.com/ 3.2.7 นำเสนอผ่านเว็บบล็อก ที่ชื่อ https://khaowongmsu.blogspot.com/เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger เรื่อง ระบบเครือข่ายเบื้องต้นนี้ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 2.1 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต 2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อสังคม Social Media 2.3 เว็บบล็อก (WebBlog) 2.4 ระบบเครือข่ายเบื้องต้น 2.1 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ องค์ประกอบยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT) อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้ 2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อสังคม Social Media 2.2.1 ความหมายของ Social Media ทุกวันนี้พวกเราหลายคนใช้ชีวิตอยู่กับ Social Networkและ Social Media มากขึ้นทุกวัน Social ในที่นี้หมายถึง สังคมออนไลน์ Media ในที่นี้หมายถึง เนื้อหา เรื่องราว และบทความ Social Media จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น 2.2.2 ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของ Social Media จุดเริ่มต้นของ Social Media เกิดจากเว็บไซต์ classmates.com เมื่อปี 1995 และเว็บไซต์ SixDegrees.com ในปี 1997 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จำกัดการใช้งานเฉพาะนักเรียน ที่เรียนในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อสร้างประวัติ ข้อมูลการสื่อสาร ส่งข้อความ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่สนใจร่วมกันระหว่างเพื่อนนักเรียนในลิสต์เท่านั้นต่อมาในปี 1999 เว็บไซต์ epinions.com ที่พัฒนาโดย Jonathan Bishop ก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชั่นในส่วนของการที่ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ ไม่เพียงแต่เพื่อนในลิสต์เท่านั้น การเกิด Social Media มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บogle Group–เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking Social Network นอกจากนี้ Social Media เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสาย สัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบันนั่นเองครับ โดยภาพรวม Social Media เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรจากปากคำของเราเองได้เป็น อย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมี ประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป ครูอาจารย์สามารถให้แง่คิดหรือสิ่งละอันพันละน้อยแก่ลูกศิษย์ได้โดยไม่จำ เป็นต้องรอให้พูดกันทีเดียวคราวละยาวๆ นักวิจัยอาจพบอะไรที่น่าสนใจแล้วสื่อสารให้รู้กันทุกคนในเครือข่ายเดียวกัน ได้ทันทีเพื่อให้ทีมรับรู้สิ่งน่าสนใจไปพร้อมๆกัน Social Media เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นโครงสร้างสังคมที่ประกอบด้วย Node (ซึ่งหมายถึงบุคคลหรือองค์กร) ต่างๆเชื่อมต่อกันซึ่งแต่ละ Node ที่เชื่อมโยงกันก็อาจมีความสัมพันธ์กับ Node อื่นๆ ด้วย โดยที่ประเภทของความสัมพันธ์ของแต่ละ Node นั้นอาจจะมีประเภทเดียวหรือมากกว่า อาทิเช่น ค่านิยม วิสัยทัศน์ ความคิด การค้า เพื่อน ญาติ เว็บลิงค์ ฯลฯ ตัวอย่างของสื่อทางสังคมประเภทนี้ได้แก่ Twitter, Face book, Linked 2.2.3 ประเภทเว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Media - http://www.blogger.com/ เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก - http://www.wordpress.com/ อเพนซอร์สซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยม - http://www.exteen.com/ เป็นที่นิยมมากที่สุดในเมืองไทย - http://www.bloggang.com/ เป็นส่วนหนึ่งของเว็บพันทิพ - http://gotoknow.org เป็นที่นิยมในการแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่คนทำงาน - http://blognone.com เป็นแหล่งข่าวไอทีของคนไทย 2.3 เว็บบล็อก (WebBlog) 2.3.1 ความหมายของเว็บบล็อก (WebBlog) เว็บบล็อก (Weblog) เป็นคำที่มาจากคำว่า เว็บ (Web) กับคำว่า บล็อก (Blog) รวมกันเรียกว่าเว็บบล็อก ความหมายของเว็บบล็อกคือ เครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด แต่เน้นการใช้งานไปที่การบันทึกเรื่องราวหรือข้อมูลส่วนตัวเหมือนกับไดอารี่ จะแสดงข้อมูลในลักษณะที่เป็นหัวข้อประกอบบทคัดย่อ แต่จะดีกว่าไดอารีที่เขียนด้วยมือ ก็คือเป็นเว็บที่สามารถเชื่อมโยงไปหาบทความที่เว็บไซด์อื่น และเปิดรับความเห็นจากผู้อื่นได้ด้วยโดยทั่ว ๆไป 2.3.2 ประเภทของเว็บบล็อก บล็อกที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ใช่มีเพียงแค่บล็อกที่เป็นตัวหนังสือและรูปภาพเท่านั้น หรือ มีแค่ออนไลน์ไดอารี่ เราแบ่งบล็อกออกได้ ดังต่อไปนี้ 1. แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อกได้แก่ 1.1. Linklog บล็อกแบบนี้น่าจะเป็นบล็อกรุ่นแรก ๆ เป็นบล็อกที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ ถ้าคุณยังจำผู้ให้กำเนิดคำว่า บล็อก ที่ชื่อ จอห์น บาจเจอร์ได้ นั่นคือ robotwisdom.com ของเขาคือตัวอย่างของ linklog นั่นเอง แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิงก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนเว็บไดเร็กทอรี่ เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิงก์ของเขา 1–2 ลิงก์ต่อโพสต์เท่านั้น ใครที่อยากมีบล็อกเป็นของตนเองแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำบล็อกแบบไหน linklog น่าจะเป็นการเริ่มต้นการทำบล็อกได้เป็นอย่างดี 1.2 Photoblog ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Photo บล็อกประเภทนี้เน้นในโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ และมักจะไม่เน้นที่จะเขียนข้อความมากนัก บางบล็อกเรียกได้ว่าภาพโดยเจ้าของบล็อกล้วน ๆ 1.3. Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie […] 2. แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่ 2.1 บล็อกส่วนตัว (Personal Blog) น าแสนอความคิดเห็น กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก 2.2 บล็อกข่าว (News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก 2.3 บล็อกกลุ่ม (Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น blognone.com 2.4 บล็อกการเมือง (Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน ๆ 2.5 บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environment Blog) พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม 2.6 มีเดียบล็อก (Media Blog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อเช่น oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น 2.7 บล็อกบันเทิง (Entertainment Blog) บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว และจอเงิน เรื่องซุบซุดารา กองถ่าย ฯลฯ 2.8 บล็อกเพื่อการศึกษา (Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน 2.9 ติวเตอร์บล็อก (Tutorial Blog) เป็นบล็อกที่นำเสนอวิธีการต่าง 2.3.3 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก www.blogger.com www.exteen.com www.mapandy.com www.buddythai.com www.imigg.com www.5iam.com www.blogprathai.com www.ndesignsblog.com www.idatablog.com www.inewblog.com www.onblogme.com www.freeseoblogs.com www.sumhua.com www.diaryi.net www.istoreblog.com www.skypream.com www.thailandspace.com www.sungson.com www.gujaba.com www.sabuyblog.com www.ugetblog.com www.jaideespace.com www.maxsiteth.com www.my2blog.com 2.4 ระบบเครือข่ายเบื้องต้น พื้นฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ใช้ในสมัยแรก ๆ นั้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมาก ๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้เร็วกว่ามาก อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์มาก การทำงานจะให้มีประสิทธิภาพสูงจะ ต้องทำเป็นหมู่คณะ หรือทีมเวิร์ค (Teamwork) คอมพิวเตอร์ก็ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ก็จำเป็นที่ต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกันเช่นกัน ฉะนั้นคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องอื่นก็เปรียบเสมือนคนที่ชอบความสันโดษ ในการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น เป็นสาเหตุที่เนื่องมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม ซึ่งการทำงานแบบนี้ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว ๆ หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้คิดค้นขึ้นมาแล้วนั้น ก็ยังได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจน ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากว่า อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนารวดเร็วอย่างรวดเร็วมากที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่ง ปัจจุบันนี้ก็เป็นยุคข้อมูลข่าวสารโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น เทคโนโลยีที่รองรับคอมพิวเตอร์ในสมัยแรก ๆ เท่านั้น เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้ใช้งานแบบรวมศูนย์ (Centralized Computing) เช่น เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูกสร้าง และเก็บไว้ในห้อง ๆ หนึ่ง เนื่องมาจากสมัยนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงมาก ผู้ใช้แต่ละคนจะใช้จอภาพ (Dump Terminal) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเมนเฟรม เมนเฟรมและดัมพ์เทอร์มินอล หลังจากนั้นมีการคิดค้นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) ซึ่งได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากราคาถูกกว่าเดิมและยังมี ประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าเครื่องเมนเฟรมด้วย ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเดี่ยวๆ (Stand-alone) ก็จะเป็นเหมือนกับการที่คน ๆ หนึ่งทำงานเพียงคนเดียว เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำงานเพียงคนเดียวนั้นจะได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่า ที่ควรนัก การทำงานของมนุษย์นั้นจำเป็นที่จะต้องทำงานกันเป็นกลุ่มหรือทีมถึงจะมีประสิทธิภาพได้คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน ควรจะทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม ซึ่งการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมของคอมพิวเตอร์นี้จะเรียกว่า “เครือข่าย (Network)” เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และก็สื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากร (Resources) ที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอม สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น แนวคิดในการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น เริ่มมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เดี่ยว ๆ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว แต่ข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลนั้นกับคนอื่นอย่างมีประสิทธิภาพได้ก่อนที่จะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายเคเบิ้ลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชุดข้อมูล ชุดคำสั่ง และข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ คอมพิวเตอร์และระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม (จตุชัย แพงจันทร์. 2547 : 6) องค์ประกอบของการสื่อสาร ปี 1960 แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล (Berlo) ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ คือ 1. ผู้ส่งสาร (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเข้ารหัส (Encode) เนื้อหาข่าวสารได้มีความรู้อย่างดีในข้อมูลที่จะส่งสามารถปรับระดับให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับ 2. ข่าวสาร (Message) คือเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่ง 3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ให้ผู้รับได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 4. ผู้รับสาร (Receiver) ผู้ที่มีความมารถในการถอดรหัส (Decode) สารที่รับมาได้อย่างถูกต้อง แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล จะให้ความสำคัญในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผู้รับละผู้ส่งต้องมีตรงกันเสมอ (ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. 2540) การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูลซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร ดังนั้น เทคโนโลยีในการสื่อสาร คือ การเอาแนวคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ผ่านช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งทำให้ผู้รับ ได้รับและเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารที่พบเห็น เช่น E-mail, Voice Mail, Video Conferencing เป็นต้น ชนิดของสัญญาณข้อมูล ชนิดของสัญญาณแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ 1. Analog signalเป็นสัญญาณต่อเนื่อง ลักษณะของคลื่นไซน์ sine wave ตัวอย่างการส่งข้อมูลที่เป็น analog คือการส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์ Hertz คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณ โดยนับความถี่ที่เกิดขึ้นใน 1 วินาที เช่น 1 วินาทีมีการเปลี่ยนแปลงของระดับสัญญาณ 60 รอบแสดงว่ามีความถี่ 60 Hz 2. Digital สัญญาณไม่ต่อเนื่อง ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเลขฐาน 2 จะถูกแทนด้วยสัญญาณ digital คือเป็น 0 และ 1 โดยการแทนข้อมูลสัญญาณแบบ Unipolar จะแทน 0 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นกลาง และ 1 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นบวก Bit rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล โดยนับจำนวน bit ที่ส่งได้ในช่วง 1 วินาที เช่น ส่งข้อมูลได้ 14,400 bps (bit per seconds) ทิศทางการส่งข้อมูล ทิศทางการส่งข้อมูล สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ (ศรีไพร ศักดิ์พงศากุล และ เจษฎาพร ยุทธวิบูลย์ชัย. 2549 : 100-101) 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูลก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวเช่นกัน การส่งข้อมูลในลักษณะนี้เช่น การส่งข้อมูลของสถานีโทรทัศน์ 2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-duplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งผู้รับและผู้ส่ง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งข้อมูลได้ แต่จะต้องสลับกันทำหน้าที่ จะเป็นผู้ส่งและผู้รับข้อมูลพร้อมกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้ เช่น การสื่อสารโดยวิทยุ 3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-duplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล โดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม กัน เช่น การสื่อสารโดยใช้สายโทรศัพท์ มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols) ด้วยความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายได้ส่งผลให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น พีดีเอ โทรศัพท์มือถือ ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความต้องการมาตรฐานเพื่อการสื่อสารไร้สาย ในทีนี้กล่าวถึงการสื่อสารไร้สายดังนี้ (ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. 2549 : 106-108) บลูทูธ (Bluetooth) บลูทธเป็นชื่อที่เรียกสำหรับมาตรฐานเรือข่ายแบบ 802.15 บลูทูธเป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้การส่งข้อมูลทางคลื่นวิทยุ (Universal Radio Interface) เริ่มใช้ในปี ค.ศ.1998 สำหรับการเชื่อมโยงสื่อสารไร้สายในแถบความถี่ 2.45 GHz ซึ่งเป็นอุปการณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถือเคลื่อนย้ายได้ สามารถติดต่อเชื่อมโยงสื่อสารแบบไร้สายระหว่างกันในช่วงระยะห่างสั้น ๆ ได้ ไว-ไฟ (Wi-Fi) ไว-ไฟ ย่อมาจากคำว่า Wireless Fidelity คือมาตรฐานที่รับรองว่าอุปกรณ์ไวเลตแลน (Wireless LAN) สามารถทำงานร่วมกันได้ และสนับสนุนมาตรฐาน IEEE802.11b ไว-ไฟ เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่นิยมใช้ที่สุดในโลก ใช้สัญญาณวิทยุในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านเครือข่ายไร้สายจากบริเวณที่มีการติดตั้ง Access Point ไปยังอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ เช่นโทรศัพท์มือถือ พีดีเอ และโน๊ตบุ๊คเป็นต้น ไว-แมกซ์ (Wi-MAX) เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่าจะถูกนำมาใช้งานที่ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในอนาคตอันใกล้นี้ (ตอนนี้มีแอบทดสอบ WiMAX กันหลายที่ในต่างจังหวัดแล้ว เช่น ที่เชียงใหม่) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ตัวนี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐานที่เรียกเป็นทางการว่า IEEE 802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a (เหมือนกับมาตรฐานสากลตัวแรก แต่มี a ต่อท้าย) ขึ้น โดยได้อนุมัติโดย IEEE มาเมื่อเดือนมกราคม 2004 ซึ่ง IEEE ที่ว่า ก็คือสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือชื่อเต็มๆก็คือ Institute of Electrical and Electronics Engineers โดยเจ้าระบบ WiMAX นี้มีซึ่งมีรัศมีทำการไกลสูงสุดที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร (คนล่ะโลกกับ WiFi ที่เรารู้จักกันเลยทีเดียว) ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G (ซึ่งก็เป็นระบบมือถือในอนาคตของประเทศไทยเราอีกนั้นแหละ เพียงแต่ตอนนี้เราใช้ 2.5G กันอยู่) มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว และแน่นอนว่าเร็วกว่าระบบ WiFi ด้วย องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้ - คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 2 เครื่อง - เน็ตเวิร์ดการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องที่ เมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย - สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่น สายสัญญาณ ส่วนสายสัญญาณที่นิยมที่ใช้กันในเครือข่ายก็เช่น สายโคแอ็กเชียลสายคู่เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ เครือข่าย เช่นฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น - โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้“ภาษา”หรือใช้โปรโตคอลเดียวกันเช่นOSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น - ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวคอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน 1. เน็ตเวิร์คการ์ด เน็ตเวิร์คการ์ดจะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า“NIC (Network Interface Card)”หรือบางทีก็เรียกว่า“LAN การ์ด (LAN Card)”อุปกรณ์เหล่านี้จะทำการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้ ปัจจุบันนี้ก็ได้มีการแบ่งการ์ดออกเป็นหลายประเภท ซึ่งจะถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับเครือข่ายประเภทแบบต่าง ๆ เช่น อีเธอร์เน็ตการ์ด โทเคนริงการ์ด เป็นต้น การ์ดในแต่ละประเภทอาจใช้กับสายสัญญาณบางชนิดเท่านั้น หรืออาจจะใช้ได้กับสายสัญญาณหลายชนิด เน็ตเวิร์คการ์ด เน็ตเวิร์คการ์ดจะติดตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์ โดยเต้าเสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ส่วนมากคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในปัจจุบันจะมีเฉพาะช่อง PCI ซึ่งก็ใช้บัสที่มีขนาด 32 บิต อย่างไรก็ตาม ยังมีคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ยังมีช่องแบบ ISA อยู่ ซึ่งมีบัสขนาด 16 บิต และมีการ์ดที่เป็นแบบ ISA จะประมวลผล ข้อมูลช้ากว่าแบบ PCI 2. สายสัญญาณ ปัจจุบันมีสายสัญญาณที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่3 ประเภท 2.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ในแต่ละคู่ของสายทองแดงซึ่งจะถูกพันกันตามมาตรฐาน เพื่อต้องการลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับคู่สายข้างเคียงได้แล้วผ่านไปยังสายเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอกเท่านั้น เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนั้นมีราคาไม่แพงมากใช้ส่งข้อมูลได้ดี แล้วน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง จึงทำให้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างคือสายโทรศัพท์สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ ก. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน ข. สายคู่เกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกด้วยซึ่งบางทีก็หุ้มอีกชั้นดังรูป ซึ่งทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่ก็สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน 2.2 สายโคแอกเซียล สายโคแอกเซียล เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันอยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะที่ และใช้ในการส่งข้อมูลระยะที่ไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดีทัศน์ซึ่งสายโคแอกเซียลที่ใช้ทั่วไปก็มีอยู่ 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทอล และชนิด 75โอห์ม ซึ่งก็จะใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอนาล็อก สายโคแอกเซียลมีฉนวนหุ้มเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า และก็เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถส่งผ่านได้กว้างถึง 500 Mhz จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราของการส่งสูงขึ้น ลักษณะของสายโคแอกเชียล 2.3 เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) เป็นการที่ใช้ให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยเป็นอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก ที่ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ตก็ใช้ได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิต ถ้าใช้กับ FDDI ก็จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง100 เมกะบิต ลักษณะของเส้นใยนำแสง 3. อุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในเครือข่ายทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่ายหรือใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลได้ดี และส่งในระยะที่ไกลมากขึ้น หรือใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ฮับ สวิตซ์ เราท์เตอร์ 3.1 ฮับ (Hub) ฮับ (HUB) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมกันระหว่างกลุ่มของคอมพิวเตอร์ ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง เพื่อส่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฮับ (HUB) 3.2 สวิตซ์ (Switch) สวิตซ์(Switch) หรือบริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ LAN สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นLAN ชนิดเดียวกัน และก็ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน เช่น ใช้ในการเชื่อมต่อ Ethernet LAN ทั้งสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน สวิตซ์ (Switch) หรือ บริดจ์ (Bridge) 3.3 เราท์เตอร์ (Routing) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายกับหลายระบบเข้าด้วยกันที่คล้ายกับบริดจ์ แต่ก็มีส่วนการทำงานจะซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์ก็มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง และเลือกเส้นทางเหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ในการเดินทาง และเพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราท์เตอร์ ( Routing ) 3.4 โปรโตคอล (Protocol) ในการเชื่อมโยงของเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ ในแต่ละเครื่องอาจก็ต้องมีระบบที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกัน เช่นในการใช้งานในเครือข่ายจึงต้องเป็นมาตรฐานหรือระเบียบที่ใช้ในการติดต่อให้แต่ละเครื่องมีวิธีการสื่อสารที่เป็นไปตามแนวทางเดียวกันได้ เพื่อให้เป็นการเชื่อมโยงข้อมูล และในการติดต่อสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องต้องมีความเข้าใจถูกต้องตรงกันและสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่เกิดความเสียหายนั้นเกิดขึ้น จึงมีการกำหนดวิธีการมาตรฐานขึ้นเรียกว่า โปรโตคอล ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าโปรโตคอล หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อตกลง ภาษาสื่อสาร รูปแบบ วิธีการเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย(ระบบใดๆ ก็ตาม)ให้สามารถติดต่อสื่อสารมีการใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย การจำแนกประเภทของเครือข่าย เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้เป็นหลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ คล้ายกับการจำแนกของ รถยนต์ ถ้าใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ จะสามารถแบ่งออกได้ โดยทั่วไปจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ 1. ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามขนาดทางภูมิศาสตร์ ถ้าใช้ขนาดทางกายภาพเป็นเกณฑ์ เครือข่ายก็ต้องสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ LAN หรือเครือข่ายท้องถิ่น และ MAN หรือเครือข่ายในบริเวณกว้าง LAN เป็นเครือข่ายที่มีใช้ในขนาดเล็กที่ครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณจำกัด เช่น ภายในห้อง หรือภายในอาคาร หรืออาจครอบคลุมไปถึงหลายอาคารที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย ซึ่งบางทีเรียกว่า “เครือข่ายวิทยาเขต(Campus Network )”จำนวนของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันใน LAN อาจมีตั้งแต่สองพันเครื่องไปจนถึงหลายพันเครื่อง แต่ในส่วนของ WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง เช่น ในพื้นที่เมือง หรืออาจจะ ครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1.1 เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ Lan) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ใช้กันอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างมากนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน 1. อีเธอร์เน็ต Ethernet อีเธอร์เน็ต (Ethernet) เป็นชื่อที่เรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เราเรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) ในระบบ LAN ชนิดหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่ 2. โทเคนริง (Token Ring) IEEE 802.5 หรือโทเคนริง (Token Ring) หรือมักจะเรียกอีกอย่างว่า ไอบีเอ็มโทเคนริง จัดเป็นเครือข่ายที่ใช้ในโทโปโลยีแบบวงแหวนนี้ด้วยสายคู่บิดเกลียว หรือเส้นใยนำแสง 3. ATM ย่อมาจากคำว่า“Asynchronous Transfer Mode” ไม่ได้มีความหมายถึงตู้ ATM ( Automatic Teller Machine) ที่เราใช้ถอนเงินสดจากธนาคาร แต่บางทีตู้ ATM ที่เราใช้ถอนเงินสดอาจจะเชื่อมต่อ เข้าศูนย์กลางด้วยระบบเครือข่ายแบบ ATM ก็ได้ ATM เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่กำหนดโดยITU-T (International Telecommunication Union-Telecommunication Standard Sector) ระบบเครือข่ายแบบกว้าง (Wide Area Network: WAN) ในระบบเครือข่าย WAN แบบบริเวณกว้าง โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นเครือข่ายที่ระยะไกลเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าไว้ด้วยกันโดยผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยทั่วไปอาศัยสายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ และคลื่นไมโครเวฟ เป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูล ระบบนี้เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าแบบแรก 2. ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงการจำแนกประเภทของเครือข่ายตามขนาดพื้นที่ที่ครอบคลุมถึงเท่านั้น การจำแนกประเภทของเครือข่ายยังสามารถจำแนกได้ โดยใช้ลักษณะการแชร์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครือข่ายเป็นเกณฑ์ เพื่อเป็นการแบ่งประเภทของเครือข่าย ซึ่งเมื่อใช้หลักการนี้แล้วเราสามารถแบ่งเครือข่ายออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 2.1 เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer – To - Peer) โดยเป็นการเชื่อมต่อของเครื่องทุกเครื่องที่ใช้ในระบบเครือข่าย และยังมีสถานะเท่าเทียมกันหมด โดยเป็นเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องผู้ใช้บริการและผู้ให้เครื่องบริการในขณะใดขณะหนึ่ง 2.2 เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network) ถ้าระบบเครือข่ายมีคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก ควรสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากง่ายและค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า แต่เมื่อเครือข่ายนั้นมีการขยายใหญ่ขึ้นจำนวนผู้ใช้ก็มากขึ้นเช่นกัน การดูแลและการจัดการระบบก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เครือข่ายจำเป็นที่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ และให้บริการอื่นๆ เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นก็ควรที่จะเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และสามารถบริการให้ผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกันได้ 2.3 ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการแบบต่าง ๆ ก. ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บไฟล์ จะเสมือนฮาร์ดดิสก์รวมศูนย์ (Cauterized disk storage) เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลอยู่ที่เดียว เพราะควบคุม-บริหารง่าย การสำรองข้อมูลโดยการ Restore ง่าย ข. พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) หนึ่งเหตุผลที่จะต้องมี Print Server ก็คือ เพื่อแบ่งให้พรินเตอร์ราคาแพงบางรุ่นที่ออกแบบมาใช้สำหรับการทำงานมาก ๆ เช่น HP Laser 5000 พิมพ์ได้ถึง 10 - 24 แผ่นต่อนาที พรินเตอร์สำหรับประเภทนี้ ความสามารถในการทำงานที่จะสูง ค. แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ (Application Server) คือ เซิร์ฟเวอร์ที่รันโปรแกรมประยุกต์ได้ โดยการทำงานสอดคล้องกับไคลเอ็นต์ เช่น Mail Server (รัน MS Exchange Server) Proxy Server (รัน Proxy Server) หรือ Web Server (รัน Web Server Program เช่น Xitami, Apache) ง. อินเตอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server) ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตนั้น มีผลกระทบกับเครือข่ายในปัจจุบันเป็นอย่างมาก อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากและมีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก เทคโนโลยีที่ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมก็คือ เว็บ และอีเมลล์ เพราะทั้งสองแอพพลิเคชั่นทำให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารกันได้ง่ายและมีรวดเร็ว - เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ HTML (Hypertext Markup Language) - เมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) คือ เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการรับ - ส่ง จัดเก็บ และจัดการเกี่ยวกับอีเมลของผู้ใช้ 3. ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล อีกวิธีหนึ่งในการแบ่งประเภทของเครือข่ายคือ การใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันก็คือ อินเตอร์เน็ต (Internet), อินทราเน็ต (Intranet), เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet ) 3.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่นำก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา อินเตอร์เน็ตในสมัยยุคแรก ๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2512 เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องนั้นมาเชื่อมต่อกันเท่านั้น โดยมีเพียงสายส่งสัญญาณ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 3.2 อินทราเน็ต (Internet) ตรงกันข้ามกับอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บ,อีเมลล์, FTP แต่อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP แต่ใช้สำหรับการรับ - ส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภทฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายนี้ไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอร์ฟแวร์ที่มีมาให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้น สำหรับให้กับพนักงานขององค์กรที่ใช้เพียงเท่านั้น 3.3 เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet) เอ็กส์ตราเน็ต(Extranet) เป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเตอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต เอ็กส์ตราเน็ต คือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของ 2 องค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่าง 2 องค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้ง 2 องค์กรจะต้องตกลงกัน การสร้างเอ็กส์ตราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลกับรวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลหรือ ระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1 บทนำ 1.1 แนวคิด ที่มา และความสำคัญ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของเรามากขึ้น ซึ่งเราอาจไม่รู้สึกตัวว่าอินเทอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตในยุคข้อมูลข่าวสารมีความสำคัญ คนหันมาบริโภคข้อมูลข่าวสารกันมากขึ้น นอกจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนถนนสำหรับการเข้าไปถึงข้อมูลที่ต้องการ เรายังต้องการเครื่องมือที่จะสามารถสร้างเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ ไว้รองรับการเข้าถึง นั่นก็คือเทคโนโลยีเว็บไซต์ ซึ่งเป็นตัวกลางคอยให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ใช้โดยการพัฒนาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก ในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต กำลังเป็นที่นิยมและมีผลกระทบในทุกๆด้านในปัจจุบัน ทำให้ทุกคน ทุกสังคมต้องมีการปรับตัว และพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงในโลกของการสื่อสาร และการพัฒนาของโลกเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web; WWW) จากยุคแรก คือ Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็น Static Web คือมีการนำเสนอข้อมูลทางเดียว (one-way communication) ด้วยการแปลงข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเราให้อยู่ในรูปของดิจิตอล (Digital) เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือการโฆษณาตามหน้าเว็บไซต์ โดยผู้ใช้สามารถอ่านได้แต่ไม่สามารถเข้าร่วมในการสร้างข้อมูลได้ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคที่ 2 ของเทคโนโลยีคือ WWW หรือ Web 2.0 เป็นยุคที่ทำให้อินเทอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ จุดกำเนิดของ Web 2.0 และการพัฒนาก้าวผ่านเข้าสู่ยุค Web 3.0 ความนิยมของ Social Media มีการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งและมีแนวโน้มของผู้ใช้บริการทั่วโลก ปัจจุบัน Social Network Website ต่าง ๆ ก็มีการพัฒนา และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์เชิงสังคมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ การสร้างเว็บ Blog เพื่อเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ในเรื่องของเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับ ระบบเครือข่ายนั้น เป็นความสนใจส่วนตัวที่อยากจะศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ ระบบเครือข่าย มีความเป็นมาอย่างไร มีองค์ประกอบไรบ้างถึงจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้มีความคิดที่จะนำเอารูปแบบของ WebBlog ด้วยเว็บไซต์ Blogger มาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเครือข่าย ระบบเพื่อศึกษา เผยแพร่ความรู้ดังกล่าวสู่ผู้สนใจต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์ - เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger เรื่อง ระบบเครือข่ายเบื้องต้น - เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง ระบบเครือข่ายเบื้องต้น - เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจาก Blogger ได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น - เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป 1.3 ขอบเขตของโครงงาน - จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger เรื่อง ระบบเครือข่ายเบื้องต้น - วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต - เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ www.blogger.com - เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น www.facebook.com, www.hotmail.com, www.google.com - โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ เช่น Adobe Photoshop CS6 และ PhotoScape2.0 1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.4.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Blogger เรื่อง ระบบเครือข่าย 1.4.2 ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจาก Blogger ได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น 1.4.3 สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกได้ 1.4.4 ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่มาใช้อย่างมีคุณค่า และสร้างสรรค์

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

บทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

บทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จากการศึกษาเรื่องระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นมีส่วนอย่างมากในการสนับสนุนแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะระบบ e-learning ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดย โปรดปราน พิตรสาธร, ปรางทอง กฤตชญานนท์, ดรุณรัตน์ วิบุลศิลป์, ภาวิณี บุญเกษมสันติ และเจนเนตร มณีนาค (2545, หน้า 57) ได้กล่าวว่า การพัฒนาตนเองโดยผ่านระบบ e-learning นั้นช่วยสนับสนุนการพัฒนาตนเองของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การมีอิสระส่วนตัว (personal autonomy) รูปแบบของระบบ e-learning ทำให้ผู้เรียนมีอิสระในความคิดเกี่ยวกับเป้าหมายหรือแผนการเรียน มีเสรีภาพในการเลือกเครื่องมือการเรียนสื่อที่ใช้ รวมไปถึงการกำหนดระยะเวลาและวิถีทางในการเรียน ผู้เรียนจำเป็นต้องฝึกฝนการควบคุมตนเอง และจะต้องมีวินัยต่อตนเองจึงจะสามารถทำให้การเรียนลุล่วงได้อย่างที่ต้องการ หรือเห็นว่าเหมาะสมส่งผลให้เกิดภาวการณ์เรียนอย่างเอกเทศ
2. การดำเนินการการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนจะต้องดำเนินการจัดการเรียนด้วยทักษะ และความสามารถของผู้เรียนเอง โดยผู้เรียนจะต้องฝึกฝนที่จะควบคุมการทำงานอย่างอิสระ มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนจะต้องรู้จักประเมินขีดความสามารถของตนเอง เพื่อนำไปสู่การเลือกระดับการเรียนที่เหมาะสม เนื่องจากไม่มีผู้ใดชี้แนะ ดังนั้นผู้เรียนจะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองมีการพัฒนาทักษะในการค้นหาและรับรู้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
3. การควบคุมการเรียนด้วยตนเอง (learner-control of instruction) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ e-learning ผู้เรียนจะต้องดำเนินการการเรียนแบบเบ็ดเสร็จด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจว่าควรจะเรียนอะไรบ้าง เลือกวิธีการ และอุปกรณ์เครื่องมือในการเรียนรวมไปถึงเลือกการติดต่อสื่อสารในเรื่องอื่น ๆ ด้วย ซึ่งแตกต่างจากการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งอยู่ในมือผู้สอนแต่เพียงผู้เดียว ส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกว่าขาดเสรีภาพและถูกจำกัดด้วยกรอบของความคิดของผู้สอน และผู้เรียนขาดแรงกระตุ้นที่จะเรียนรู้ โดยการค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง ซึ่ง e-learning ในปัจจุบันได้สร้างความสะดวกสบายให้กับบุคคล
ที่ต้องการศึกษา หรือเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำความรู้มาใช้ประโยชน์ต่อตนเองในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องความรู้ในด้านวิชาการ เช่น วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น หรือการสร้างความรู้ให้ตนเองในด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง e-learning นั้นสามารถช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของตนเองให้ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม แต่ละบุคคลสามารถเลือกการเรียนรู้ หรือสิ่งที่สนใจได้ด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานที่ทำอยู่ กีฬา งานอดิเรก อาชีพ หรือแม้แต่สิ่งที่กำลังสนใจหรือต้องการสนใจที่จะเรียนรู้ในเรื่องใด นอกจากนั้น e-learning ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลระดับโลก
ข้อเสนอแนะในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้ ค้นคว้าหาข้อมูลที่ตนเองไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งในระบบอินเทอร์เน็ตก็มีความรู้อยู่อย่างมหาศาล แต่การสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย เช่น สื่อลากมกในระบบอินเทอร์เน็ต ก็ยังเป็นปัญหาสังคมที่ยังต่อแก้ไขกันต่อไป การจะสืบค้นข้อมูลทุกอย่าง จะต้องมีวิธีการสืบค้นที่ถูกต้อง และระมัดระวังในเรื่องของไวรัสที่จะมาจากระบบอินเทอร์เน็ต ก็เป็นปัญหาที่สำคัญเช่นกัน ที่ทุกคนจะต้องป้องกันโดยการติดตั้งโปรแกรมสแกนไวรัสที่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการสแกนทุกครั้งที่ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งในข้อเสนอแนะในการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองมีการสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการสืบค้น ก็จะส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กรนั้น และจะเกิดผลดีมากที่สุดถ้าองค์กรสามารถสร้างบุคลากรในองค์กรให้มีคุณสมบัติที่เป็นบุคคลที่เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การศึกษาเปิดกว้างกระจายไปได้กว้างไกล นำสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีในเว็บได้สร้างหนทางของการประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษามากขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนามัลติมีเดียบนเว็บ ทำให้สามารถแสดงผลเพื่อตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์โดยการเรียนรู้ร่วมกันก่อให้เกิดการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อการพัฒนาตนเอง องค์กรและประเทศชาติต่อไปในอนาคต



ที่มา
http://admission2.bu.ac.th/image/adult%20internet.htm

ความสำคัญของระบบอินเทอร์เน็ต


ความสำคัญของระบบอินเทอร์เน็ต
เมื่อทราบถึงความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ลำดับต่อไปจะขอกล่าวถึงความจำเป็นและความสำคัญของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราหลาย ๆ ด้าน ทั้งการศึกษา การค้า การพาณิชย์ และการบันเทิง เป็นต้น เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากกระจายอยู่ทุกแห่งทั่วโลก บนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลมหาศาลทุกสาขาความรู้ เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงมีการประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ด้านต่างๆมากมาย (วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ, 2543, หน้า 23) ดังนี้
ด้านการศึกษา มีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น จนถือได้ว่าอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเทคโนโลยีการศึกษาของยุคปัจจุบัน ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ดังนี้
1.อาจารย์และนักศึกษาสามารถค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้
ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่ และเวลา (Anywhere & Anytime) นักศึกษาก็สามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่าง ๆ ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับนักศึกษาทั่วโลก ในขณะที่อาจารย์สามารถนำเนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ลงในเว็บไซต์เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
2.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียนในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบและเป็นอิสระ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวมข้อมูลมากมายมหาศาล ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์อยู่เสมอ เพื่อแยกแยะและเลือกใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์สำหรับตนเอง
3.พัฒนาการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-mail) ซึ่งในปัจจุบันอาจารย์จำนวนมากในหลายสถาบัน ได้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืนการบ้าน ในขณะเดียวกันการสื่อสารระหว่างนักศึกษา สามารถช่วยส่งเสริมการทำงานกลุ่ม การปรึกษาหารือกับอาจารย์และเพื่อนในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนทั้งในและต่างประเทศ
4.เปลี่ยนบทบาทของอาจารย์และนักศึกษา การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนจะทำให้บทบาทของอาจารย์ปรับเปลี่ยนไป จากการเน้นความเป็น "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา จะเป็นการเรียนรู้ "เชิงรุก" มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
5.ก่อให้เกิดระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) ซึ่งเป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม
6.ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย เช่น E-mail, Web board และChat เป็นต้น จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
7.มีการพัฒนาหนังสือหรือตำราเรียนให้ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ที่เรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book--Electronic Book)
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ สำหรับวงการธุรกิจในปัจจุบันได้นำระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังต่อไปนี้ คือ
1.ค้นหาข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ เช่น รายงานความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แหล่งข้อมูลการเงินและการลงทุน และสถานการณ์หุ้น เป็นต้น
2.สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce--Electronic Commerce) ทำให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3.ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ ตอบปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
เป็นต้น
4.การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet Banking เช่น การสอบถามยอดเงินในบัญชี การโอนเงิน และการชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น ทำให้เกิดความสะดวกในการทำธุรกิจ
ด้านการบันเทิงในส่วนของวงการบันเทิงได้นำระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ดังต่อไปนี้ คือ
1.การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
2.สามารถฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
3.สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่ามาดูได้
เมื่อกล่าวโดยภาพรวมความสำคัญของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีทั้งความสำคัญทางตรงและความสำคัญทางอ้อมที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เชื่อมโยงโลกถึงกันได้อย่างรวดเร็ว รับรู้ข่าวสารอันฉับไว การติดต่อสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร และการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างเครือข่ายความรู้ให้แก่กันและกันและสร้างความเข็มแข็งให้กับองค์กรโดยเฉพาะการบริหารจัดการองค์กร

ที่มา
http://admission2.bu.ac.th/image/adult%20internet.htm

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการองค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบต่างๆ

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
1. บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN

องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )
2. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงโดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ความเร็วของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net
3. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ADSL
1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net
4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)
เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว
(One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download) ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาที แต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม
1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

ที่มา
http://202.143.137.109/araya/int.html