หลักการใช้สื่อการสอน
การที่ผู้สอนจะนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์นั้น มีหลักการที่ผู้สอนควรมีความเข้าใจในการใช้สื่อการสอน ซึ่งแบ่งหลักการออกเป็น 4 ขั้นตอนตามช่วงเวลาของการใช้สื่อการสอนดังนี้
1. การวางแผน (Planning) การใช้สื่อการสอนต้องมีการวางแผน โดยในขั้นของการวางแผนคือการพิจารณาว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการเรียนการสอน ซึ่งรายละเอียดของการเลือกใช้สื่อการสอนได้กล่าวไว้ในหัวข้อหลักการเลือกใช้สื่อการสอน อย่างไรก็ตามการวางแผนเป็นขั้นตอนแรก และเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก ผู้ใช้สื่อการสอนควรเลือกใช้สื่อการสอนโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน หากการวางแผนผิดพลาด ก็จะทำให้การใช้สื่อการสอนล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้ปฏิบัติการใช้สื่อการสอนเลย
2. การเตรียมการ (Preparation)เมื่อได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้
2.1 การเตรียมความพร้อมของผู้สอนเพื่อให้ภาพของผู้สอนในการใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างดีและราบรื่น เป็นที่ประทับใจต่อผู้เรียน และสำคัญที่สุดคือ การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอน ดังนั้นผู้สอนควรมีการเตรียมพร้อมในการใช้สื่อการสอน เช่น การเตรียมบทบรรยายประกอบสื่อ การจัดลำดับการใช้สื่อ การตรวจเช็คสภาพหรือทดลองสื่อก่อนการใช้งานจริง
2.2 การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนก่อนใช้สื่อการสอน ผู้สอนควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนถึงกิจกรรมการเรียน และลักษณะการใช้สื่อการสอน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทราบบทบาทของตน และเตรียมตัวที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือตอบสนองต่อสื่อ
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกันสื่อการสอนบางอย่างต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นด้วย ดังนั้น ผู้ใช้สื่อ ควรทดสอบการใช้สื่อก่อนใช้งานจริง เช่น การตรวจสอบแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า การตรวจสอบการเสียบปลั๊กหรือสายไฟต่างๆ เป็นต้น
2.4 การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอนสื่อแต่ละอย่างเหมาะสมที่จะใช้กับสภาพห้องหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น ขนาดของห้องเรียนควรเหมาะสมกับสื่อที่ใช้ สภาพของแสงหรือเสียงก็ควรจัดให้เหมาะสมเช่นกัน
3. การนำเสนอสื่อ (Presentation) ในช่วงการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน อาจแบ่งช่วงเวลาออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน และช่วงสรุป ในทุกช่วงเวลาสามารถนำสื่อการสอนเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้หรือการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เลือกใช้สื่อการสอนควรมีความเข้าใจว่าสื่อการสอนที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. ช่วงนำเข้าสู่บทเรียนการใช้สื่อการสอนช่วงนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการที่จะเริ่มต้นเรียน และเพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่บทเรียน
2. ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียนการใช้สื่อการสอนในช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อถ่ายทอดสาระ ความรู้ หรือเนื้อหาบทเรียนให้แก่ผู้เรียน เพื่อสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3. ช่วงสรุปบทเรียนในช่วงสุดท้ายของการสอน ควรมีการใช้สื่อการสอนเพื่อสรุปเนื้อหาที่สำคัญของบทเรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการสรุปสาระที่ควรจำ หรือเพื่อช่วยโยงไปสู่เนอกจากการใช้สื่อการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของช่วงการนำเสนอแล้ว ในขณะที่ใช้สื่อยังมีหลักการที่ควรปฏิบัติดังนี้
1..ใช้สื่อการสอนตามลำดับที่วางแผนไว้ หากพบปัญหาเฉพาะหน้าควรแก้ไขลำดับการนำเสนอในภาพรวมให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
2..ควบคุมเวลาการใช้สื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางอย่างไว้อย่างดีแล้ว คือใช้เวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหา ไม่นำเสนอเร็วหรือช้าเกินไป
3..ไม่ควรให้ผู้เรียนเห็นสื่อก่อนการใช้ เพราะอาจทำให้ผู้เรียนหมดความตื่นเต้นหรือหมดความน่าสนใจ หรือไม่ควรนำเสนอสื่อหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะสื่อหนึ่งอาจแย่งความสนใจจากอีกสื่อหนึ่ง หรืออาจทำให้ผู้เรียนสับสน หรืออาจมีปัญหาในเรื่องการรับรู้ของผู้เรียนที่ไม่สามารถรับรู้ได้พร้อมๆ กัน
4.ทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ เช่น การระดมสมอง การตั้งคำถาม การอภิปราย เป็นต้น
5.การนำเสนอควรมีจุดเน้นและอธิบายรายละเอียดในส่วนที่สำคัญ ในขณะนำเสนอ โดยเฉพาะจุดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจและสับสน
6.การนำเสนอด้วยสื่อควรออกแบบให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิด ผู้เรียนควรมีโอกาสมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือการใช้สื่ออย่างทั่วถึง
4.การติดตามผล (Follow - up)ภายหลังการใช้สื่อการสอนแล้ว ผู้สอนควรทำการซักถาม ตอบคำถามผู้เรียน หรืออภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพื่อสรุปถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ และเพื่อทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความเข้าใจบทเรียนเพียงใด และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอน ตลอดจนวิธีการใช้สื่อการสอนของครูว่า มีข้อดี ข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้าง
ความหมายของการประเมินผลสื่อการสอนปัจจุบันสื่อการสอนมีบทบาทในกระบวนการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และรวดเร็ว ตามหลักการแล้ว ก่อนที่จะนำสื่อการสอน ไปใช้งาน สื่อการสอนทุกชิ้น จะต้องได้รับการประเมินผล และปรับปรุงจนมีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกันและให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้สื่อการสอนนั้นๆ ว่าเป็นสื่อการสอนที่มีคุณภาพ และมีศักยภาพที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ แต่อย่างไรก็ตามยังมีสื่อการสอนจำนวนมากที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสื่อการสอนที่ไม่ได้รับการประเมินผล การประเมินผลสื่อการสอน หมายถึง การนำข้อมูลหรือผลจากการวัดผลสื่อการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value Judgement) เพื่อที่จะบอกว่า สื่อการสอนนั้นทำหน้าที่ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้เพียงใด มีคุณภาพเป็นเช่นใด มีลักษณะถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่ (วชิราพร, 2545)ถ้าจะทำการประเมินผลสื่อการสอน ต้องมีข้อมูลเพื่อการตีความและการตัดสินคุณค่า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่วนหนึ่งได้มาจากการวัดผลสื่อการสอน การวัดผล (Measurement) หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสิ่งที่ถูกวัด ซึ่งในกรณีนี้คือสื่อการสอน ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นนี้จะแสดงแทนศักยภาพของสื่อการสอนในด้านต่างๆ ดังนั้นการวัดผลสื่อการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินผลสื่อการสอน เพราะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลสื่อการสอน การวัดผลสื่อการสอนจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีหลักการและเหตุผลรองรับตามหลักวิชาการ เพื่อที่จะได้ข้อมูลการวัดผลที่มีความเที่ยง และความตรง เป็นข้อมูลที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงของสื่อการสอนนั้นได้อย่างถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง ความสำคัญของการประเมินผลสื่อการสอน
แหล่งข้อมูลhttp://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281
http://pprrty.blogspot.com/2007/09/blog-post_2728.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น