Web Site Hit Counters

ค้นหาข้อมูลในบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการจัดการเรียนเรียนร่วมเด็กพิเศษ 9 ประเภท

เรียบเรียงโดยนางสาวจินตหรา เขาวงค์ 52010516007
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

บทความเรื่อง
รูปแบบการจัดการเรียนเรียนร่วมในโรงเรียน
การจัดการศึกษาพิเศษเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิการ โดยที่รัฐบาลได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องการให้การช่วยเหลือเด็กพิการประเภทต่าง ๆ ที่มีทั้งหมด 9 ประเภท ซึ่งในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เด็กพิการเหล่านี้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นคนที่มีสุขภาพดีตามศักยภาพที่เด็กพิการจะพึงได้จนสามารถช่วยเหลือตนเอง ไม่เป็นภาระของสังคมมากนัก และโยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคคลสามารถได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม เด็กพิการก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกได้เท่าเทียมกับผู้อื่น
เนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หรือที่เรียกว่าเป็นกฎหมายทางการศึกษา เป็นกฎหมายมาตรา 10 กำหนดว่าการจัดการต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย อีกทั้งความในวรรค 2 และวรรค 3 ระบุต้องจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจสติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือผู้มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพไม่สามารถช่วยตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล ด้อยโอกาส และบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ (ปัญญาเลิศ) ต้องจัดในรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น แสดงว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หรือกฎหมายทางการศึกษาของประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาให้บุคคลทุกประเภท เป็นหลักการเดียวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม ที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคน ได้รับโอกาสทางการศึกษาตามความสามารถของแต่ละบุคคลนั่นคือการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงก้าวต่อไปของการจัดการเรียนร่วมนั่นเอง หน้าที่ของโรงเรียนละเปลี่ยนไปหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ ยังเหมือนเดิมเพียงแต่การดำเนินงานจัดการศึกษาต่อไปนี้ ครูทุกคนต้องรู้จักเด็กของตนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นรูปธรรมต้องรู้ให้ชัดว่าเด็กคนใดมีลักษณะอย่างไร ต้องการความช่วยเหลือแบบไหน เหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนทุกตามกฎหมายทั้งสิ้น มิใช่ เป็นหน้าที่ของครูการศึกษาพิเศษหรือครูที่ผ่านการอบรมการศึกษาพิเศษต่อไป ที่ผ่านมา คงพอจะเห็นรูปแบบการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องพิเศษในโรงเรียนกันบ้างแล้วและสังเกตได้ว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาแบบนี้จะต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่ บุคคลกร งบบริหารจัดการต่าง ๆ ทำให้การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆด้วยข้อจำกัดของปัจจัยหลาย ๆ อย่าง


การเตรียมการสำหรับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
1. เตรียมความพร้อมของโรงเรียน ต้องเตรียมความพร้อมในด้านเจตคติของบุคลากรในโรงเรียน ความพร้อมในด้านกายภาพ จำนวนบุคคลกร ความรู้ ความเข้าใจ หลักการและวิธีดำเนินการเรียนร่วมในการปฏิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้บริหาร ต้องมีเจตคติที่ดี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมมีหลักในการบริหารโรงเรียนที่ดี ทำความเข้าใจกับบุคคลกรทุกฝ่ายในโรงเรียน และจัดหาบริการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนร่วม พร้อมทั้งส่งเสริมกำลังใจในการปฏิบัติงาน
2. ประชุมครูและบุคคลกรของโรงเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วม เพื่อบุคลากรในโรงเรียนจะได้รู้ว่าโรงเรียนจะต้องทำอะไร ด้วยเหตุผลอะไร ทำกับใคร และคนที่จะทำคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้างโดยเฉพาะครูชั้นเรียนร่วม ต้องยอมรับว่าในชั้นของตนเองมีเด็กพิเศษอยู่ด้วยเพราะฉะนั้นต้องเพิ่มบทบาทในการเป็นครูประจำชั้นโดยหน้าที่ปกครองดูแลเด็กทั้งชั้นให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ทุกคนมีโอกาสได้รับการส่งเสริมในการเรียนรู้ ค้นพบความสามารถและบรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตน และต้องเข้าใจวิธีการประสานงานกับบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนร่วมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. จัดหาบุคลากรรับผิดชอบงานโดยสรรหาบุคลากรในโรงเรียนที่มีวุฒิด้านการศึกษาโดยตรง หรือผู้ที่สมัครใจส่งเข้าอบรมหลักสูตรวิชาการศึกษาพิเศษเพื่อทำหน้าที่สอนประจำชั้นเด็กพิเศษ หรือเป็นครูสอนเสริมวิชาการ ครูเดินสอน ครูประจำชั้นเรียนร่วม ครูประจำวิชา
4. จัดหาห้องเรียน ห้องเสริมวิชาการ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษรวมทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ได้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ
5. ทำความเข้าใจ ให้ความรู้และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการเรียนร่วมของเด็ก เช่น ผู้ปกครองเด็กปกติ
เด็กปกติในโรงเรียน ตลอดทั้งชุมชน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เข้าใจความจำเป็น ให้ความเห็นใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกับเด็กพิเศษ โดยไม่คิดว่าเด็กพิเศษเป็นภาระและถ่วงความก้าวหน้าของบุตรหลานตน ส่วนนักเรียนปกติก็ต้องเตรียมใจยอมรับและเรียนร่วมกับเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษ ไม่ล้อเลียน ควรให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่เพื่อนเด็กพิเศษทำไม่ได้

รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสามารถทำได้ดังนี้
1.ชั้นเรียนปกติเต็มวัน การเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาโดยอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น นักเรียนและครูจะได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษทางอ้อมเช่นการฝึกอบรมครูประจำการ ครูการศึกษาพิเศษ ส่วนเด็ก ๆ จะได้รับบริการวัสดุอุปกรณ์เท่าที่จำเป็น
2.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ นักเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลา จะอยู่ในความรับชอบของครูประจำชั้นและมีผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ทั้งเรื่องการศึกษาพิเศษและการศึกษาปกติร่วมให้คำปรึกษา เช่นนักจิตวิทยา ครูการศึกษาพิเศษเดินสอนหรือสอนเสริมในโรงเรียนบุคคลเหล่านี้จะไม่สอนเด็กโดยตรงแต่จะคอยแนะนำช่วยเหลือเหลือครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชา และจัดหาบริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ
3.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน นักเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาภายใต้ความรับผิดชอบของครูประจำชั้น แต่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนโดยตรงจากครูเดินสอน เช่น นักกายภาพบำบัด ครูแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษ ครูช่วยสอนเสริม ที่เดินทางไปให้บริการตามโรงเรียนต่าง ๆ
4.ชั้นเรียนปกติเต็มวันบริการสอนเสริม การเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น ได้รับการสอนเสริมหรือเพิ่มเติมจากครูการศึกษาพิเศษประจำห้องสอนเสริม โดยให้นักเรียนมาเรียนกับครูสอนเสริมบางเวลาและบางวิชาที่เด็กบกพร่อง หรือทักษะที่เด็กมีความต้องการจำเป็นพิเศษ แต่ปัจจุบันครูสอนเสริมจะสอนร่วมกับครูในชั้นเรียนมากกว่าจะนำเด็กออกมาเรียนห้องสอนเสริม
5.ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ (หรือการเรียนร่วมเป็นบางวิชา) นักเรียนในชั้นเรียนพิเศษเข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติมากน้อยตามสมควร อาจเรียนร่วมวิชา เช่น พลศึกษา ศิลปะ ดนตรี การงาน พื้นฐานอาชีพ จริยศึกษา ครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมกับงานร่วมกันรับผิดชอบรูปแบบนี้จัดได้ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
6.ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ นักเรียนในชั้นเรียนพิเศษเต็มเวลาร่วมกับเพื่อนพิการ ประมาณ 5 – 10 คน มีครูประจำชั้นเป็นผู้สอนเองทุกวิชา เด็กจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กทั่วไป เช่น เข้าแถวเคารพธงชาติสวดมนต์ไหว้พระ รับประทานอาหารไปทัศนศึกษา เป็นต้น

ประโยชน์ของการจัดการเรียนร่วม
1.เด็กพิเศษมีโอกาสได้เรียนโรงเรียนใกล้บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ ซึ่งมีน้อยและอยู่ห่างไกล
2.ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองที่ไม่ต้องส่งไปอยู่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนประจำ
3.เด็กพิเศษมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว โดยไม่รู้สึกแบ่งแยกว่าเป็นเด็กพิการ
4.เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เร็วกว่าการที่ต้องไปอยู่โรงเรียนของเด็กพิการ เป็นประสบการณ์ตรงที่จะเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
5.รัฐบาลใช้งบประมาณน้อยกว่าการจัดโรงเรียนพิเศษเฉพาะเด็กพิการ
6.สังคมจะเข้าใจและยอมรับเด็กพิเศษว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมช่วยให้เด็กพิเศษใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และทำประโยชน์ให้แก่สังคม
ปัญหาของการเรียนร่วม
1.ผู้ปกครองเด็กพิเศษบางคนห่วง กังวลและกลัวว่าลูกจะลำบาก จะถูกเด็กอื่นล้อหรือรังแก
2.ผู้ปกครองที่มีลูกปกติก็ห่วงว่า ถ้าลูกของตนเองต้องเรียนร่วมกับเด็กพิเศษ ก็จะเลียนแบบหรือทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควรซึ่งนักวิจัยยังไม่พบว่าเด็กปกติจะเลียนแบบเด็กพิเศษจนถึงขั้นที่ไม่เหมาะเช่นนั้น
3.ปัญหาในส่วนครูก็คือครูไม่แน่ใจว่าจะสอนเด็กพิเศษอย่างไร เพราะขาดประสบการณ์ไม่มั่นใจเกรงว่าต้องสละเวลาของตนให้กับเด็กพิเศษมากเกินไป

สรุป
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม มีหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน การจัดให้เด็กได้เรียนร่วมแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบจากบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย เช่นผู้ปกครอง ตัวเด็กพิเศษ โรงเรียน ผู้บริหาร ครู แพทย์ และนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความเสริมเรื่อง การศึกษาพิเศษ (Special Educational)
การศึกษาพิเศษหมายถึงอะไร
การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาให้สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสายตา เด็กที่มีความบกพร่องด้านการได้ยิน เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ และสังคม หรือเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้จะไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดการศึกษาแบบเดียวกันกับเด็กปกติ
ดังนั้น การศึกษาพิเศษจึงมีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าว ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษได้รวมถึงด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา (หลักสูตร) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อความสามารถ และความต้องการของเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล

กระบวนการและองค์ประกอบของการสอนเด็กพิเศษ
• เริ่มจากสังเกตพฤติกรรมทั่วไป และทำการประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อจัดวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP : Individual Education Program) โดยเน้นการใช้เทคนิคการสอนทางการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมกับปัญหา และความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล
• ในการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ต้องมีการวางแผนการสอนด้วยความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง นักการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษ
• เทคนิคการสอนเด็กพิเศษควรผสมผสานความเข้าใจด้านจิตวิทยาเด็กที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม ภาวะอาการ และความต้องการพิเศษของเด็ก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนเด็กพิเศษได้อย่างมี ประสิทธิผล
• หลังจากผ่านการประเมินจากแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แล้ว จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักสูตร และวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นแผนการสอนรายบุคคล (IIP : Individual Implementation Program) ซึ่งเน้นวิธีการสอน และกระบวนการสอนอย่างเป็นระบบ มีลำดับขั้นตอนการสอนในเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชา
• การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัลอย่างมีเงื่อนไข
• ทำการประเมินผลการเรียนไปพร้อม ๆ กันกับการปรับเปลี่ยนแผนการสอนหากพบข้อบกพร่องในการเรียนการสอน นอกจากนี้ ควรสนับสนุนให้เด็กสามารถเรียนรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมถึงการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความรู้ และแสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ
• ขอบข่าย และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษ
• ทำการคัดกรองและประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อให้ทราบถึงระดับความสามารถ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
• ให้การส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมแก่เด็กตามพัฒนาการที่พึงประสงค์ในแต่ละช่วงวัย
• มีการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อพัฒนาการ และความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน
• ให้คำแนะนำและทำความเข้าใจแก่ผู้ปกครองหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก ว่าควรให้การส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กในด้านใดบ้าง เช่น ทักษะด้านการคิด ทักษะด้านวิชาการ ทักษะด้านการสื่อความหมาย และการใช้ภาษา เป็นต้น
• ให้การฝึกฝนและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ และถูกต้องเหมาะสมต่อ สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์
• มีการเสริมประสบการณ์พิเศษแก่เด็กเพื่อให้เด็กมี โลกทัศน์ที่กว้างขึ้นรวมถึงความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

กรณีตัวอย่าง
การจัดการเรียนการสอน "เรื่องวงรี" มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กสามารถ ชี้ หยิบ บอก วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นรูปวงรีได้ โดยนักการศึกษาพิเศษจะเริ่มสอนโดยการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อน เช่น ให้ร้องเพลงเกี่ยวกับไข่ จากนั้นให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่าลักษณะของไข่เป็นรูปวงรี เมื่อเด็กเห็นวัตถุต่างๆ รอบตัวที่มีลักษณะเหมือนไข่ เด็กจะสามารถสรุปได้ว่าเป็นรูปวงรี นอกจากนี้ ยังมีการใช้สื่อต่างๆ ประกอบในการสอน เช่น ให้เด็กตัดกระดาษ หรือให้เด็กใช้นิ้วระบายสีเป็นรูปวงรีร่วมด้วย
การจัดการเรียนการสอนเรื่องตัวเลข "0 - 9" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กสามารถ ชี้ หยิบ บอก ตัวเลข 0 - 9 ได้ โดยนักการศึกษาพิเศษจะเริ่มสอนโดยการเตรียมความพร้อมของเด็กก่อน เช่น ท่อง 1 - 10 พร้อมกัน ช่วยกันหาตัวเลขที่มีอยู่รอบๆ ห้องเรียน จากนั้นนำตัวเลขจำลองให้เด็กสัมผัสและใช้นิ้วมือลากตามตัวเลข พร้อมทั้งออกเสียงตามครูซ้ำ ๆ 5 - 7 ครั้ง ต่อ 1 ตัวเลข นอกจากนี้ ยังมีการใช้สื่อต่างๆ ในการสอน ตัวอย่างเช่น โรยทรายลงบนตัวเลขที่กำหนดให้ เป็นต้น
ในกรณีที่เด็กมีภาวะไม่อยู่นิ่ง บทบาทของนักการศึกษาพิเศษจะช่วยจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับภาวะอาการของเด็ก โดยจัดให้เด็กเรียนรู้ผ่าน กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เช่น เมื่อเด็กเรียนเรื่องวงรี อาจจะจัดวางรูปวงรีตามมุมต่าง ๆ ของห้องเรียน หรือ จัดการแข่งขันหาตัวเลขต่าง ๆ ตามคำสั่งของครู เพื่อให้เด็กสามารถเรียนร่วมกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนได้ และเมื่อเด็กทำได้สำเร็จจะก่อให้เกิดความภาคภูมิในใจตนเอง และมีความสนใจที่จะเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

สรุป

การแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษล้วนจะได้รับประโยชน์จาการเรียนร่วมกันสำหรับเด็กพิเศษสามารถเรียนรู้ทักษะทางสังคมและการช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น เด็กปกติก็เรียนรู้ความอดทน มีความเข้าใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่แตกต่างจากตน รวมทั้งมีความภาคภูมิใจที่ตนได้ช่วยเหลือคนอื่น



ที่มา
http://pookam.multiply.com/journal/item/10/10
http://www.specialchild.co.th/knowledge.asp?article=1

2 ความคิดเห็น:

  1. ทำบ็อกเก่งจัง สอนหน่อยอยากทำเป็นเพราะต้องส่งอาจารย์ ศุกร์นี้แล้ว

    ตอบลบ
  2. เราต้องทำเกี่ยวกะยบุคคลพิการซ้อนน่ะ
    มีสื่ออะไรที่พอจะให้บ้างก็ติดต่อกับน่ะ เมล pinkpooh_02@hotmail.com

    ตอบลบ