บทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จากการศึกษาเรื่องระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นมีส่วนอย่างมากในการสนับสนุนแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะระบบ e-learning ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดย โปรดปราน พิตรสาธร, ปรางทอง กฤตชญานนท์, ดรุณรัตน์ วิบุลศิลป์, ภาวิณี บุญเกษมสันติ และเจนเนตร มณีนาค (2545, หน้า 57) ได้กล่าวว่า การพัฒนาตนเองโดยผ่านระบบ e-learning นั้นช่วยสนับสนุนการพัฒนาตนเองของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การมีอิสระส่วนตัว (personal autonomy) รูปแบบของระบบ e-learning ทำให้ผู้เรียนมีอิสระในความคิดเกี่ยวกับเป้าหมายหรือแผนการเรียน มีเสรีภาพในการเลือกเครื่องมือการเรียนสื่อที่ใช้ รวมไปถึงการกำหนดระยะเวลาและวิถีทางในการเรียน ผู้เรียนจำเป็นต้องฝึกฝนการควบคุมตนเอง และจะต้องมีวินัยต่อตนเองจึงจะสามารถทำให้การเรียนลุล่วงได้อย่างที่ต้องการ หรือเห็นว่าเหมาะสมส่งผลให้เกิดภาวการณ์เรียนอย่างเอกเทศ
2. การดำเนินการการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนจะต้องดำเนินการจัดการเรียนด้วยทักษะ และความสามารถของผู้เรียนเอง โดยผู้เรียนจะต้องฝึกฝนที่จะควบคุมการทำงานอย่างอิสระ มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนจะต้องรู้จักประเมินขีดความสามารถของตนเอง เพื่อนำไปสู่การเลือกระดับการเรียนที่เหมาะสม เนื่องจากไม่มีผู้ใดชี้แนะ ดังนั้นผู้เรียนจะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองมีการพัฒนาทักษะในการค้นหาและรับรู้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
3. การควบคุมการเรียนด้วยตนเอง (learner-control of instruction) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ e-learning ผู้เรียนจะต้องดำเนินการการเรียนแบบเบ็ดเสร็จด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจว่าควรจะเรียนอะไรบ้าง เลือกวิธีการ และอุปกรณ์เครื่องมือในการเรียนรวมไปถึงเลือกการติดต่อสื่อสารในเรื่องอื่น ๆ ด้วย ซึ่งแตกต่างจากการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งอยู่ในมือผู้สอนแต่เพียงผู้เดียว ส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกว่าขาดเสรีภาพและถูกจำกัดด้วยกรอบของความคิดของผู้สอน และผู้เรียนขาดแรงกระตุ้นที่จะเรียนรู้ โดยการค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง ซึ่ง e-learning ในปัจจุบันได้สร้างความสะดวกสบายให้กับบุคคล
ที่ต้องการศึกษา หรือเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำความรู้มาใช้ประโยชน์ต่อตนเองในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องความรู้ในด้านวิชาการ เช่น วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น หรือการสร้างความรู้ให้ตนเองในด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง e-learning นั้นสามารถช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของตนเองให้ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม แต่ละบุคคลสามารถเลือกการเรียนรู้ หรือสิ่งที่สนใจได้ด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานที่ทำอยู่ กีฬา งานอดิเรก อาชีพ หรือแม้แต่สิ่งที่กำลังสนใจหรือต้องการสนใจที่จะเรียนรู้ในเรื่องใด นอกจากนั้น e-learning ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลระดับโลก
ข้อเสนอแนะในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้ ค้นคว้าหาข้อมูลที่ตนเองไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งในระบบอินเทอร์เน็ตก็มีความรู้อยู่อย่างมหาศาล แต่การสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย เช่น สื่อลากมกในระบบอินเทอร์เน็ต ก็ยังเป็นปัญหาสังคมที่ยังต่อแก้ไขกันต่อไป การจะสืบค้นข้อมูลทุกอย่าง จะต้องมีวิธีการสืบค้นที่ถูกต้อง และระมัดระวังในเรื่องของไวรัสที่จะมาจากระบบอินเทอร์เน็ต ก็เป็นปัญหาที่สำคัญเช่นกัน ที่ทุกคนจะต้องป้องกันโดยการติดตั้งโปรแกรมสแกนไวรัสที่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการสแกนทุกครั้งที่ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งในข้อเสนอแนะในการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองมีการสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการสืบค้น ก็จะส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กรนั้น และจะเกิดผลดีมากที่สุดถ้าองค์กรสามารถสร้างบุคลากรในองค์กรให้มีคุณสมบัติที่เป็นบุคคลที่เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การศึกษาเปิดกว้างกระจายไปได้กว้างไกล นำสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีในเว็บได้สร้างหนทางของการประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษามากขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนามัลติมีเดียบนเว็บ ทำให้สามารถแสดงผลเพื่อตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์โดยการเรียนรู้ร่วมกันก่อให้เกิดการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อการพัฒนาตนเอง องค์กรและประเทศชาติต่อไปในอนาคต
ที่มา
http://admission2.bu.ac.th/image/adult%20internet.htm
ค้นหาข้อมูลในบล็อก
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
ความสำคัญของระบบอินเทอร์เน็ต
ความสำคัญของระบบอินเทอร์เน็ต
เมื่อทราบถึงความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ลำดับต่อไปจะขอกล่าวถึงความจำเป็นและความสำคัญของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราหลาย ๆ ด้าน ทั้งการศึกษา การค้า การพาณิชย์ และการบันเทิง เป็นต้น เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากกระจายอยู่ทุกแห่งทั่วโลก บนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลมหาศาลทุกสาขาความรู้ เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงมีการประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ด้านต่างๆมากมาย (วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ, 2543, หน้า 23) ดังนี้
ด้านการศึกษา มีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น จนถือได้ว่าอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเทคโนโลยีการศึกษาของยุคปัจจุบัน ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ดังนี้
1.อาจารย์และนักศึกษาสามารถค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้
ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่ และเวลา (Anywhere & Anytime) นักศึกษาก็สามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่าง ๆ ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับนักศึกษาทั่วโลก ในขณะที่อาจารย์สามารถนำเนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ลงในเว็บไซต์เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
2.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียนในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบและเป็นอิสระ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวมข้อมูลมากมายมหาศาล ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์อยู่เสมอ เพื่อแยกแยะและเลือกใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์สำหรับตนเอง
3.พัฒนาการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-mail) ซึ่งในปัจจุบันอาจารย์จำนวนมากในหลายสถาบัน ได้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืนการบ้าน ในขณะเดียวกันการสื่อสารระหว่างนักศึกษา สามารถช่วยส่งเสริมการทำงานกลุ่ม การปรึกษาหารือกับอาจารย์และเพื่อนในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนทั้งในและต่างประเทศ
4.เปลี่ยนบทบาทของอาจารย์และนักศึกษา การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนจะทำให้บทบาทของอาจารย์ปรับเปลี่ยนไป จากการเน้นความเป็น "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา จะเป็นการเรียนรู้ "เชิงรุก" มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
5.ก่อให้เกิดระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) ซึ่งเป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม
6.ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย เช่น E-mail, Web board และChat เป็นต้น จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
7.มีการพัฒนาหนังสือหรือตำราเรียนให้ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ที่เรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book--Electronic Book)
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ สำหรับวงการธุรกิจในปัจจุบันได้นำระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังต่อไปนี้ คือ
1.ค้นหาข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ เช่น รายงานความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แหล่งข้อมูลการเงินและการลงทุน และสถานการณ์หุ้น เป็นต้น
2.สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce--Electronic Commerce) ทำให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3.ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ ตอบปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
เป็นต้น
4.การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet Banking เช่น การสอบถามยอดเงินในบัญชี การโอนเงิน และการชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น ทำให้เกิดความสะดวกในการทำธุรกิจ
ด้านการบันเทิงในส่วนของวงการบันเทิงได้นำระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ดังต่อไปนี้ คือ
1.การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
2.สามารถฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
3.สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่ามาดูได้
เมื่อกล่าวโดยภาพรวมความสำคัญของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีทั้งความสำคัญทางตรงและความสำคัญทางอ้อมที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เชื่อมโยงโลกถึงกันได้อย่างรวดเร็ว รับรู้ข่าวสารอันฉับไว การติดต่อสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร และการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างเครือข่ายความรู้ให้แก่กันและกันและสร้างความเข็มแข็งให้กับองค์กรโดยเฉพาะการบริหารจัดการองค์กร
ที่มา
http://admission2.bu.ac.th/image/adult%20internet.htm
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการองค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบต่างๆ
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
1. บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )
2. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงโดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ความเร็วของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net
3. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ADSL
1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net
4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)
เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว
(One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download) ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาที แต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม
1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น
ที่มา
http://202.143.137.109/araya/int.html
1. บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )
2. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงโดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ความเร็วของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net
3. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ADSL
1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net
4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)
เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว
(One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download) ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาที แต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม
1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น
ที่มา
http://202.143.137.109/araya/int.html
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ที่มา
http://202.143.137.109/araya/int.html
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ที่มา
http://202.143.137.109/araya/int.html
ประวัติอินเตอร์เน็ต
ประวัติอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม
อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้
สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไป ที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers)
อินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งขยายความได้ดังนี้ คือ การที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง
การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล (Protocol)
เราลองคิดดูว่าเมื่อคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันนั้น อาจเป็นคอมพิวเตอร์จากเมืองไทย ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อเมริกา ซึ่งต้องมีความแตกต่างกันของชนิดเครื่องทาง Hardware และระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทาง Software แล้วถ้าคิดถึงทั่วโลกย่อมต้องมีความหลากหลายทาง Hardware และ Software กันมากมาย แต่ทำไมปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ คอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีภาษาสากลใช้สื่อสารกันโดยเฉพาะ คือเรียกว่ามี Protocol เฉพาะนั่นเอง ซึ่งเราเรียก Protocol เฉพาะนี้ว่า TCP/IP โดยย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol (TCP) Internet Protocol (IP) นั่นเอง
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลาย คือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อ สื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Macintosh ได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียวหรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิด มัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
ที่มา : http://www.satitm.chula.ac.th/computer/info/8/index.htm
อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม
อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้
สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไป ที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers)
อินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งขยายความได้ดังนี้ คือ การที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง
การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล (Protocol)
เราลองคิดดูว่าเมื่อคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันนั้น อาจเป็นคอมพิวเตอร์จากเมืองไทย ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อเมริกา ซึ่งต้องมีความแตกต่างกันของชนิดเครื่องทาง Hardware และระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทาง Software แล้วถ้าคิดถึงทั่วโลกย่อมต้องมีความหลากหลายทาง Hardware และ Software กันมากมาย แต่ทำไมปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ คอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีภาษาสากลใช้สื่อสารกันโดยเฉพาะ คือเรียกว่ามี Protocol เฉพาะนั่นเอง ซึ่งเราเรียก Protocol เฉพาะนี้ว่า TCP/IP โดยย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol (TCP) Internet Protocol (IP) นั่นเอง
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลาย คือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อ สื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Macintosh ได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียวหรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิด มัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
ที่มา : http://www.satitm.chula.ac.th/computer/info/8/index.htm
ภัยจากอินเทอร์เน็ต
ภัยจากอินเทอร์เน็ต
ภัยข้อแรก ภัยจากการแชท การแชท หมายถึง การพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต เป็นภัยที่พบง่ายและบ่อยที่สุด บางครั้งเราอาจกำลังสนทนาอยู่กับคนที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากเราอยู่ก็ได้ ถ้าเราเผลอให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือนัดเจอคนที่รู้จักกันทางเน็ต เราอาจตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านี้ได้ คนเหล่านี้เล่นแชท เพราะเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อน , มีปมด้อย , อยากหาแฟน , เพ้อฝันว่าอาจจะได้เจอสิ่งดีๆ ในเนต ,โรคจิต , แสวงหาผลประโยชน์จากคนที่ไม่รู้ , หาความรู้โดยไม่อยากเสียเงิน หรือเล่นไปงั้นๆ แหละ เพื่อนบอกให้ลอง
ภัยข้อที่ 2 ภัยจากการเล่นเกมส์ออนไลน์ เป็นเหมือนกับยาเสพติดดีๆ นี่เอง เพราะเมื่อเล่นแล้วทำให้ไม่อยากหยุดเล่น อยากทำคะแนนให้ได้เยอะๆ ได้ level ที่สูงขึ้น อยากอวด อยากเอาชนะคนอื่น ปัจจุบันเกมส์ออนไลน์มีมากมาย บางเกมส์ส่อไปในทางลามกอนาจาร มีการนำเสนอภาพที่รุนแรง บางเกมส์มีการขายของที่อยู่ในเกมส์ หลายคนเคยตกเป็นเหยื่อเพราะโดนหลอกซื้อของที่อยู่ในเกมส์ก็มี นักเรียนต้องรู้จักข่มใจตนเอง เลือกเล่นเฉพาะเกมที่สร้างสรรค์ กำหนดเวลาเล่นให้เป็น ไม่ใช่เล่นเอาเป็นเอาตาย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบั่นทอนทำให้เสียสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงเสียการเรียนด้วย
ภัยข้อสุดท้าย ภัยจากการท่องเวบ ภัยจากการท่องเว็บอันดับ 1 คือ การโฆษณาหลอกลวงขายสินค้า เช่น สั่งซื้อของจ่ายเงินแล้วแต่ไม่ได้ของก็มี 2. เว็บดาวน์โหลด ถ้าดาวน์โหลดสุ่มสี่สุ่มห้า อาจจะมีไวรัสแถมมาด้วย หรือบางเว็บแค่คลิกเข้าไปก็โดนไวรัสแล้ว 3. เว็บโป๊ อนาจาร 4. เว็บบอร์ด กระดานถามตอบ อาจมีการโพสต์ข้อความชวนเชื่อ โกหกบ้าง จริงบ้าง ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพเพื่อกลั่นแกล้งกันก็มี 4. ภัยจากอีเมล์ก็มีไวรัส หรือภาพโป๊ ฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไร้สาระ ถ้ามีเมล์ที่เราไม่รู้จักเข้ามา ก็ควรลบทิ้ง
4 วิธีของเด็ก- 6 วิธีสำหรับผู้ใหญ่ ป้องกันอันตรายจากเน็ต
อินเตอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและอยู่ใกล้ชิดเยาวชนมากที่สุด ช่วยให้เยาวชนสามารถค้นคว้าหาความรู้และสาระได้อย่างเท่าเทียมกับอารยประเทศ แม้มีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีอันตรายไม่น้อยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดปัญหาการล่อลวงเด็ก และเกิดความเสียหายกับตัวเด็ก ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อเสนอ 6 แนวทางสำหรับผู้ใหญ่ และ 4 แนวทางสำหรับเด็กในการป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เน็ตที่มีกับเด็ก ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และสกัดกั้นความเสียหายต่ออนาคตของชาติ จากผู้ใช้ในเมืองไทย 4.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน
ส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง...
1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเตอร์เน็ตตามลำพัง
2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา
3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่
6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว
สำหรับเยาวชน มีข้อควรระวัง...
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
2. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูลหรือรูปภาพใดๆ บนอินเตอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม
3. ไม่ไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใดๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
ข้อเสนอแนะว่าจะใช้ “ เน็ต ” อย่างไรให้ปลอดภัย
1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่นชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน
2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น
3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้ จริงๆ
4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ
5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ
6. ควรบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย
หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อสร้างความเสียหาย
7. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์
8. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับเว็บต่างๆ เพราะเราอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของ
ผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองอยู่
9. ถ้าคนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำธุรกรรมผ่านทางเว็บ ให้คิดเสมอว่ารายได้ที่สูงเกินความจริง อาจตกอยู่
กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย
10. ไม่ควรเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง
ที่มา
http://www.sjt.ac.th/e_learning/internet.htm
ภัยข้อแรก ภัยจากการแชท การแชท หมายถึง การพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต เป็นภัยที่พบง่ายและบ่อยที่สุด บางครั้งเราอาจกำลังสนทนาอยู่กับคนที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากเราอยู่ก็ได้ ถ้าเราเผลอให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือนัดเจอคนที่รู้จักกันทางเน็ต เราอาจตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านี้ได้ คนเหล่านี้เล่นแชท เพราะเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อน , มีปมด้อย , อยากหาแฟน , เพ้อฝันว่าอาจจะได้เจอสิ่งดีๆ ในเนต ,โรคจิต , แสวงหาผลประโยชน์จากคนที่ไม่รู้ , หาความรู้โดยไม่อยากเสียเงิน หรือเล่นไปงั้นๆ แหละ เพื่อนบอกให้ลอง
ภัยข้อที่ 2 ภัยจากการเล่นเกมส์ออนไลน์ เป็นเหมือนกับยาเสพติดดีๆ นี่เอง เพราะเมื่อเล่นแล้วทำให้ไม่อยากหยุดเล่น อยากทำคะแนนให้ได้เยอะๆ ได้ level ที่สูงขึ้น อยากอวด อยากเอาชนะคนอื่น ปัจจุบันเกมส์ออนไลน์มีมากมาย บางเกมส์ส่อไปในทางลามกอนาจาร มีการนำเสนอภาพที่รุนแรง บางเกมส์มีการขายของที่อยู่ในเกมส์ หลายคนเคยตกเป็นเหยื่อเพราะโดนหลอกซื้อของที่อยู่ในเกมส์ก็มี นักเรียนต้องรู้จักข่มใจตนเอง เลือกเล่นเฉพาะเกมที่สร้างสรรค์ กำหนดเวลาเล่นให้เป็น ไม่ใช่เล่นเอาเป็นเอาตาย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบั่นทอนทำให้เสียสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงเสียการเรียนด้วย
ภัยข้อสุดท้าย ภัยจากการท่องเวบ ภัยจากการท่องเว็บอันดับ 1 คือ การโฆษณาหลอกลวงขายสินค้า เช่น สั่งซื้อของจ่ายเงินแล้วแต่ไม่ได้ของก็มี 2. เว็บดาวน์โหลด ถ้าดาวน์โหลดสุ่มสี่สุ่มห้า อาจจะมีไวรัสแถมมาด้วย หรือบางเว็บแค่คลิกเข้าไปก็โดนไวรัสแล้ว 3. เว็บโป๊ อนาจาร 4. เว็บบอร์ด กระดานถามตอบ อาจมีการโพสต์ข้อความชวนเชื่อ โกหกบ้าง จริงบ้าง ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพเพื่อกลั่นแกล้งกันก็มี 4. ภัยจากอีเมล์ก็มีไวรัส หรือภาพโป๊ ฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไร้สาระ ถ้ามีเมล์ที่เราไม่รู้จักเข้ามา ก็ควรลบทิ้ง
4 วิธีของเด็ก- 6 วิธีสำหรับผู้ใหญ่ ป้องกันอันตรายจากเน็ต
อินเตอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและอยู่ใกล้ชิดเยาวชนมากที่สุด ช่วยให้เยาวชนสามารถค้นคว้าหาความรู้และสาระได้อย่างเท่าเทียมกับอารยประเทศ แม้มีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีอันตรายไม่น้อยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดปัญหาการล่อลวงเด็ก และเกิดความเสียหายกับตัวเด็ก ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อเสนอ 6 แนวทางสำหรับผู้ใหญ่ และ 4 แนวทางสำหรับเด็กในการป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เน็ตที่มีกับเด็ก ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และสกัดกั้นความเสียหายต่ออนาคตของชาติ จากผู้ใช้ในเมืองไทย 4.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน
ส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง...
1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเตอร์เน็ตตามลำพัง
2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา
3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่
6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว
สำหรับเยาวชน มีข้อควรระวัง...
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
2. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูลหรือรูปภาพใดๆ บนอินเตอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม
3. ไม่ไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใดๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
ข้อเสนอแนะว่าจะใช้ “ เน็ต ” อย่างไรให้ปลอดภัย
1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่นชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน
2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น
3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้ จริงๆ
4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ
5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ
6. ควรบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย
หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อสร้างความเสียหาย
7. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์
8. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับเว็บต่างๆ เพราะเราอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของ
ผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองอยู่
9. ถ้าคนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำธุรกรรมผ่านทางเว็บ ให้คิดเสมอว่ารายได้ที่สูงเกินความจริง อาจตกอยู่
กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย
10. ไม่ควรเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง
ที่มา
http://www.sjt.ac.th/e_learning/internet.htm
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
ที่มา
http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club=internetlearning&club_id=1371&table_id=1&cate_id=-1&post_id=4445
อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
ที่มา
http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club=internetlearning&club_id=1371&table_id=1&cate_id=-1&post_id=4445
โทษของอินเทอร์เน็ต
โทษของอินเทอร์เน็ต
- โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย
ของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
- อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
- มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
- ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- เติบโตเร็วเกินไป
- ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน
- ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
- ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
- ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย)
- เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
- ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว
โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
- รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
- มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
- รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
- คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
- ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
- หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
- มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย
ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย
ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ
หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความ
เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่
- Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง
- บุคลากรในองค์กร หน่วยงานใดที่ไล่พนักงานออกจากงานอาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานจนมาก่อปัญหาอาชญากรรมได้เช่นกัน
- Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัย
ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้
- Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
- CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
- Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวย
ความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมา
ใช้งานได้ทันที
- Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไป
จู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
- Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
- Malicious scripts จะมีการเขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน อย่างมั่นใจ
หรือว่าไม่เจอปัญหาอะไร อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแฝงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั้นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าตนเองเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นเอง
- Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร
- ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001
พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน
ปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ คงจะช่วยให้รอดพ้นปัญหานี้ได้บ้าง
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/banny/3743
- โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย
ของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
- อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
- มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
- ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- เติบโตเร็วเกินไป
- ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน
- ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
- ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
- ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย)
- เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
- ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว
โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
- รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
- มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
- รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
- คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
- ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
- หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
- มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย
ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย
ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ
หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความ
เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่
- Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง
- บุคลากรในองค์กร หน่วยงานใดที่ไล่พนักงานออกจากงานอาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานจนมาก่อปัญหาอาชญากรรมได้เช่นกัน
- Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัย
ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้
- Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
- CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
- Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวย
ความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมา
ใช้งานได้ทันที
- Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไป
จู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
- Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
- Malicious scripts จะมีการเขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน อย่างมั่นใจ
หรือว่าไม่เจอปัญหาอะไร อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแฝงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั้นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าตนเองเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นเอง
- Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร
- ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001
พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน
ปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ คงจะช่วยให้รอดพ้นปัญหานี้ได้บ้าง
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/banny/3743
ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้
อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/internet_thailand.html
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้
อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/internet_thailand.html
พื้นฐานการทำงานของระบบอินเตอร์เน็ต
พื้นฐานการทำงานของระบบอินเตอร์เน็ต
ระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นอาศัยโปรโตคอล TCP/IP เป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP ก็คือ การต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดเข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็น TCP/IP นั้นทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลหมายเลขที่กำกับนี้มีชื่อว่าหมายเลย IP หมายเลขนี้จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิตสามารถเขียนได้เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 4 ชุดแยกจากกันโดยใช้จุดคั่นเลขแต่ละชุดสามารถ สามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 192.150.249.11, 64.4.43.7 เป็นต้น
11111111 . 11111111 . 11111111 . 111111112
255 . 255 . 255 . 255
จากหมายเลข IP ขนาด 32 บิตที่ใช้ในปัจจุบันทำให้สามารถมีจำนวนเครื่องที่เข้าใช้ ได้จำนวนหลายพันล้านเครื่องแล้วแต่จำนวนขนาดนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้ต้องมีโครงการขยายหมายเลข IP ออกไปอีกในปัจจุบัน ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทุกเครื่องที่สามารถต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องมีหมายเลข IP ด้วยเสมอสามารถดูได้จากโปรแกรมที่เตรียมไว้ในเครื่อง เช่นในระบบ windows จะใช้คำสั่ง winipcfg สามารถเข้าไปที่ Start / Run / winipcfg แล้วกด ok จะมีหน้าต่างแสดงข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลข IP ปรากฏขึ้นมาดังภาพ
ถ้าเป็นระบบอื่น ๆ ก็จะใช้คำสั่งที่แตกต่างกันไปสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือที่มากับเครื่อง
ระบบ Domain Name
ระบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อนำชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายกว่าตัวเลข IP มาใช้ในการขอใช้ บริการ จากเครื่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นบริการ แบบ world wide web คล้ายกับการที่ทางราชการกำหนดให้ประชาชนจะต้องทำบัตรประชาชน ในบัตรก็จะมีตัวเลขประจำตัวที่ยาวมาก ไม่ค่อยมีใครจดจำนักแต่มีชื่อและนามสกุลที่จำได้ง่ายกว่าเมื่อใช้เรียก ตัวอย่างเช่น
นาย สมชาย ใจดี มีหมายเลขประจำตัวผู้ถือบัตรเป็น 3 1101 02545 06 4 ถ้าหากเรียกหมายเลขตามบัตรย่อมเกิดความสับสนได้แน่นอนเพราะจำนวนหลักมีมากแต่ถ้าเรียกชื่อ และนามสกุลย่อมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าแน่นอน ถ้าเป็น website จะแทนด้วย
www.hotmail.com แทนด้วย 64.4.54.7
www.eau.ac.th แทนด้วย 203.155.193.251
โดยโครงสร้างของชื่อโดเมนจะเป็นดังนี้ “ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน”
การตั้งชื่อโดเมนเนมนั้นจะตั้งให้สามารถจดจำได้ง่ายโดยจะมีการแบ่งระดับชั้นดังนี้
ขั้นแรกจะแยกเป็นส่วนของสถานที่ตั้ง (Geographic Location) ส่วนใหญ่ใช้ชื่อประเทศเช่น
ประเทศไทย ใช้ th
ประเทศญี่ปุ่นใช้ jp
ประเทศไต้หวันใช้ tw
ประเทศฝรั่งเศลใช้ fr
ประเทศอังกฤษใช้ uk
ฯลฯ
แต่มีประเทศหนึ่งไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่ตั้งบอกก็คือประเทศสหรัฐอเมริกา แต่จะใช้กลุ่มของสิ่งที่จะนำเสนอเป็นโดเมนระดับนี้เลย เช่น com(comercial), gov(government), net(network), org(organization), edu(education) แทนชื่อประเทศได้เลย แต่เนื่องจากชื่อโดเมนระดับบนสุดที่ลงท้ายด้วย com, org, net สามารถจดจำได้ง่ายทำให้ผู้ที่จดทะเบียนโดเมนจากประเทศอื่นนำชื่อเหล่านี้ไปใช้เพื่อให้สามารถจำได้ง่าย
ระดับถัดไปจะแยกเป็นประเภทของสิ่งที่นำเสนอว่าเป็นใด เช่นเป็น หน่วยงานทางธุรกิจ, ราชการ, เกี่ยวกับเครือข่าย, สถาบันการศึกษา ก็จะมีชื่อที่ใช้แทนแต่ละแบบดังเช่นที่ใช้ในประเทศไทยจะใช้ co(company), ac(academic), go(government), or(organization), in(individual) เป็นต้น
www.msn.com
www.hot.in.th
www.eau.ac.th
www.canon.co.jp
ระดับถัดไปก็จะเป็นชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ต้องการจะจดทะเบียนอาจจะเป็นชื่อหน่วยงาน ชื่อบริษัท ชื่อบุคคลหรือคำใด ๆ ที่สื่อความหมายถึงเนื้อหาที่ให้บริการตัวอย่างเช่น
www eau ac th
สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่องโดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อนี้ถ้าเป็นเครื่องที่ให้บริการ World wide web
eau คือ ชื่อโดเมนที่ตั้งขึ้นเพื่อบอกถึงชื่อว่าคือมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ac คือ ชื่อโดเมนที่บอกว่าเป็นสถาบันการศึกษา
th คือ ชื่อโดเมนระดับบนสุดบอกว่าเป็นประเทศไทย
www bot or th
สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือชื่อเครื่อง ตั้งเป็นชื่ออื่นได้แต่เพื่อให้ผู้ใช้บริการคุ้นเคย
bot คือชื่อโดเมนมาจากคำว่า Bank of Thailand เป็นคำย่อที่เป็นภาษาอังกฤษของหน่วยราชการไทยซึ่งมีอีกหลายแห่ง ต้องอาศัยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพราะการแปลชื่อหน่วยงานให้เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้ใช้อาจทำได้ไม่ตรงแล้วค้นหาไม่เจอก็ได้
or คือ หน่วยงาน องค์การอิสระ
th คือประเทศไทย
www Thaimail com
สามารถอธิบายได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่อง
thaimail คือ ชื่อโดเมน ที่สื่อความหมายถึงเป็นการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
com คือ หน่วยงานทางธุรกิจ แต่ในที่นี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เพียงแต่ใช้ .com เพราะว่าจำง่าย
Internet growth:
Date Hosts | Date Hosts Networks Domains
------ -------- + ----- --------- -------- ---------
12/69 4 | 07/89 130,000 650 3,900
06/70 9 | 10/89 159,000 837
10/70 11 | 10/90 313,000 2,063 9,300
12/70 13 | 01/91 376,000 2,338
04/71 23 | 07/91 535,000 3,086 16,000
10/72 31 | 10/91 617,000 3,556 18,000
01/73 35 | 01/92 727,000 4,526
06/74 62 | 04/92 890,000 5,291 20,000
03/77 111 | 07/92 992,000 6,569 16,300
12/79 188 | 10/92 1,136,000 7,505 18,100
08/81 213 | 01/93 1,313,000 8,258 21,000
05/82 235 | 04/93 1,486,000 9,722 22,000
08/83 562 | 07/93 1,776,000 13,767 26,000
10/84 1,024 | 10/93 2,056,000 16,533 28,000
10/85 1,961 | 01/94 2,217,000 20,539 30,000
02/86 2,308 | 07/94 3,212,000 25,210 46,000
11/86 5,089 | 10/94 3,864,000 37,022 56,000
12/87 28,174 | 01/95 4,852,000 39,410 71,000
07/88 33,000 | 07/95 6,642,000 61,538 120,000
10/88 56,000 | 01/96 9,472,000 93,671 240,000
01/89 80,000 | 07/96 12,881,000 134,365 488,000
| 01/97 16,146,000 828,000
| 07/97 19,540,000 1,301,000
*** see Note below ***
Hosts = a computer system with registered ip address (an A record)
Networks = registered class A/B/C addresses
Domains = registered domain name (with name server record)
Note: A more accurate survey mechanism was developed in 1/98; new and
some corrected numbers are shown below. For further info, see
Sources section.
Date Hosts | Date Hosts | Date Hosts
----- ----------- + ----- ----------- + ----- -----------
01/95 5,846,000 | 01/97 21,819,000 | 01/99 43,230,000
07/95 8,200,000 | 07/97 26,053,000 | 07/99 56,218,000
01/96 14,352,000 | 01/98 29,670,000 | 01/00 72,398,092
07/96 16,729,000 | 07/98 36,739,000 | 07/00 93,047,785
| 01/01 109,574,429
ระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นอาศัยโปรโตคอล TCP/IP เป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP ก็คือ การต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดเข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็น TCP/IP นั้นทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลหมายเลขที่กำกับนี้มีชื่อว่าหมายเลย IP หมายเลขนี้จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิตสามารถเขียนได้เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 4 ชุดแยกจากกันโดยใช้จุดคั่นเลขแต่ละชุดสามารถ สามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 192.150.249.11, 64.4.43.7 เป็นต้น
11111111 . 11111111 . 11111111 . 111111112
255 . 255 . 255 . 255
จากหมายเลข IP ขนาด 32 บิตที่ใช้ในปัจจุบันทำให้สามารถมีจำนวนเครื่องที่เข้าใช้ ได้จำนวนหลายพันล้านเครื่องแล้วแต่จำนวนขนาดนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้ต้องมีโครงการขยายหมายเลข IP ออกไปอีกในปัจจุบัน ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทุกเครื่องที่สามารถต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องมีหมายเลข IP ด้วยเสมอสามารถดูได้จากโปรแกรมที่เตรียมไว้ในเครื่อง เช่นในระบบ windows จะใช้คำสั่ง winipcfg สามารถเข้าไปที่ Start / Run / winipcfg แล้วกด ok จะมีหน้าต่างแสดงข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลข IP ปรากฏขึ้นมาดังภาพ
ถ้าเป็นระบบอื่น ๆ ก็จะใช้คำสั่งที่แตกต่างกันไปสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือที่มากับเครื่อง
ระบบ Domain Name
ระบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อนำชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายกว่าตัวเลข IP มาใช้ในการขอใช้ บริการ จากเครื่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นบริการ แบบ world wide web คล้ายกับการที่ทางราชการกำหนดให้ประชาชนจะต้องทำบัตรประชาชน ในบัตรก็จะมีตัวเลขประจำตัวที่ยาวมาก ไม่ค่อยมีใครจดจำนักแต่มีชื่อและนามสกุลที่จำได้ง่ายกว่าเมื่อใช้เรียก ตัวอย่างเช่น
นาย สมชาย ใจดี มีหมายเลขประจำตัวผู้ถือบัตรเป็น 3 1101 02545 06 4 ถ้าหากเรียกหมายเลขตามบัตรย่อมเกิดความสับสนได้แน่นอนเพราะจำนวนหลักมีมากแต่ถ้าเรียกชื่อ และนามสกุลย่อมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าแน่นอน ถ้าเป็น website จะแทนด้วย
www.hotmail.com แทนด้วย 64.4.54.7
www.eau.ac.th แทนด้วย 203.155.193.251
โดยโครงสร้างของชื่อโดเมนจะเป็นดังนี้ “ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน”
การตั้งชื่อโดเมนเนมนั้นจะตั้งให้สามารถจดจำได้ง่ายโดยจะมีการแบ่งระดับชั้นดังนี้
ขั้นแรกจะแยกเป็นส่วนของสถานที่ตั้ง (Geographic Location) ส่วนใหญ่ใช้ชื่อประเทศเช่น
ประเทศไทย ใช้ th
ประเทศญี่ปุ่นใช้ jp
ประเทศไต้หวันใช้ tw
ประเทศฝรั่งเศลใช้ fr
ประเทศอังกฤษใช้ uk
ฯลฯ
แต่มีประเทศหนึ่งไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่ตั้งบอกก็คือประเทศสหรัฐอเมริกา แต่จะใช้กลุ่มของสิ่งที่จะนำเสนอเป็นโดเมนระดับนี้เลย เช่น com(comercial), gov(government), net(network), org(organization), edu(education) แทนชื่อประเทศได้เลย แต่เนื่องจากชื่อโดเมนระดับบนสุดที่ลงท้ายด้วย com, org, net สามารถจดจำได้ง่ายทำให้ผู้ที่จดทะเบียนโดเมนจากประเทศอื่นนำชื่อเหล่านี้ไปใช้เพื่อให้สามารถจำได้ง่าย
ระดับถัดไปจะแยกเป็นประเภทของสิ่งที่นำเสนอว่าเป็นใด เช่นเป็น หน่วยงานทางธุรกิจ, ราชการ, เกี่ยวกับเครือข่าย, สถาบันการศึกษา ก็จะมีชื่อที่ใช้แทนแต่ละแบบดังเช่นที่ใช้ในประเทศไทยจะใช้ co(company), ac(academic), go(government), or(organization), in(individual) เป็นต้น
www.msn.com
www.hot.in.th
www.eau.ac.th
www.canon.co.jp
ระดับถัดไปก็จะเป็นชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ต้องการจะจดทะเบียนอาจจะเป็นชื่อหน่วยงาน ชื่อบริษัท ชื่อบุคคลหรือคำใด ๆ ที่สื่อความหมายถึงเนื้อหาที่ให้บริการตัวอย่างเช่น
www eau ac th
สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่องโดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อนี้ถ้าเป็นเครื่องที่ให้บริการ World wide web
eau คือ ชื่อโดเมนที่ตั้งขึ้นเพื่อบอกถึงชื่อว่าคือมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ac คือ ชื่อโดเมนที่บอกว่าเป็นสถาบันการศึกษา
th คือ ชื่อโดเมนระดับบนสุดบอกว่าเป็นประเทศไทย
www bot or th
สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือชื่อเครื่อง ตั้งเป็นชื่ออื่นได้แต่เพื่อให้ผู้ใช้บริการคุ้นเคย
bot คือชื่อโดเมนมาจากคำว่า Bank of Thailand เป็นคำย่อที่เป็นภาษาอังกฤษของหน่วยราชการไทยซึ่งมีอีกหลายแห่ง ต้องอาศัยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพราะการแปลชื่อหน่วยงานให้เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้ใช้อาจทำได้ไม่ตรงแล้วค้นหาไม่เจอก็ได้
or คือ หน่วยงาน องค์การอิสระ
th คือประเทศไทย
www Thaimail com
สามารถอธิบายได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่อง
thaimail คือ ชื่อโดเมน ที่สื่อความหมายถึงเป็นการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
com คือ หน่วยงานทางธุรกิจ แต่ในที่นี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เพียงแต่ใช้ .com เพราะว่าจำง่าย
Internet growth:
Date Hosts | Date Hosts Networks Domains
------ -------- + ----- --------- -------- ---------
12/69 4 | 07/89 130,000 650 3,900
06/70 9 | 10/89 159,000 837
10/70 11 | 10/90 313,000 2,063 9,300
12/70 13 | 01/91 376,000 2,338
04/71 23 | 07/91 535,000 3,086 16,000
10/72 31 | 10/91 617,000 3,556 18,000
01/73 35 | 01/92 727,000 4,526
06/74 62 | 04/92 890,000 5,291 20,000
03/77 111 | 07/92 992,000 6,569 16,300
12/79 188 | 10/92 1,136,000 7,505 18,100
08/81 213 | 01/93 1,313,000 8,258 21,000
05/82 235 | 04/93 1,486,000 9,722 22,000
08/83 562 | 07/93 1,776,000 13,767 26,000
10/84 1,024 | 10/93 2,056,000 16,533 28,000
10/85 1,961 | 01/94 2,217,000 20,539 30,000
02/86 2,308 | 07/94 3,212,000 25,210 46,000
11/86 5,089 | 10/94 3,864,000 37,022 56,000
12/87 28,174 | 01/95 4,852,000 39,410 71,000
07/88 33,000 | 07/95 6,642,000 61,538 120,000
10/88 56,000 | 01/96 9,472,000 93,671 240,000
01/89 80,000 | 07/96 12,881,000 134,365 488,000
| 01/97 16,146,000 828,000
| 07/97 19,540,000 1,301,000
*** see Note below ***
Hosts = a computer system with registered ip address (an A record)
Networks = registered class A/B/C addresses
Domains = registered domain name (with name server record)
Note: A more accurate survey mechanism was developed in 1/98; new and
some corrected numbers are shown below. For further info, see
Sources section.
Date Hosts | Date Hosts | Date Hosts
----- ----------- + ----- ----------- + ----- -----------
01/95 5,846,000 | 01/97 21,819,000 | 01/99 43,230,000
07/95 8,200,000 | 07/97 26,053,000 | 07/99 56,218,000
01/96 14,352,000 | 01/98 29,670,000 | 01/00 72,398,092
07/96 16,729,000 | 07/98 36,739,000 | 07/00 93,047,785
| 01/01 109,574,429
อินเตอร์เน็ตคืออะไร
อินเตอร์เน็ตคืออะไร
ความหมาย อินเตอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายของข้อมูลและคอมพิวเตอร์ สาธารณะขนาดใหญ่ที่เกิดจากระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ เครือข่ายที่อาศัยมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกัน ต่อเชื่อมเข้าหากันเพื่อให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลอินเตอร์เน็ตแต่เพียงผู้เดียว อาสน์ทิพย์ ภิญโญยิ่ง (2544, 1-24)
อินเทอร์เน็ต (Internet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดและปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเว็บไซตซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่อประสม (multimedia) จำนวนเว็บไซต์มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็ว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวต์เว็บ (world Wide Web) ในอนาคตไว้ดังนี้ (Shelly Gary,1997)
- หน่วยงานธุรกิจจะใช้เว็บสำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
- ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เว็บจะมีความเร็วถึง 100-1,000 เท่าเมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ความสามารถของเว็บเบราเซอร์จะถูกรวมเข้าในซอฟต์แวร์ประยุกต์แทบทุกประเภท
- การใช้เว็บจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ
- ความสามารถของโปรแกรมเพื่อการค้นหาข้อมูล (Web search) จะมีความฉลาดมากขึ้น
จากตัวอย่างแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตข้างต้นจะเห็นได้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจต่าง ๆ จะมีการนำอินเทอร์เน็ตเช้ามาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือการทำธุรกิจและบริการ
ความหมายของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้อธิบายความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer networks) ซึ่งหมายถึงกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วย ฮาร์ดแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน จะเรียกว่า internetwork หรือ internet (สังเกตว่าจะใช้ i ตัวเล็ก) แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า the Internet (ตัว I ใหญ่) จะหมายถึงกลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ (public access)
ที่มา
http://pirun.ku.ac.th/~b5011172/Page_2.html
ความหมาย อินเตอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายของข้อมูลและคอมพิวเตอร์ สาธารณะขนาดใหญ่ที่เกิดจากระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ เครือข่ายที่อาศัยมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกัน ต่อเชื่อมเข้าหากันเพื่อให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลอินเตอร์เน็ตแต่เพียงผู้เดียว อาสน์ทิพย์ ภิญโญยิ่ง (2544, 1-24)
อินเทอร์เน็ต (Internet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดและปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเว็บไซตซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่อประสม (multimedia) จำนวนเว็บไซต์มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็ว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวต์เว็บ (world Wide Web) ในอนาคตไว้ดังนี้ (Shelly Gary,1997)
- หน่วยงานธุรกิจจะใช้เว็บสำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
- ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เว็บจะมีความเร็วถึง 100-1,000 เท่าเมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ความสามารถของเว็บเบราเซอร์จะถูกรวมเข้าในซอฟต์แวร์ประยุกต์แทบทุกประเภท
- การใช้เว็บจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ
- ความสามารถของโปรแกรมเพื่อการค้นหาข้อมูล (Web search) จะมีความฉลาดมากขึ้น
จากตัวอย่างแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตข้างต้นจะเห็นได้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจต่าง ๆ จะมีการนำอินเทอร์เน็ตเช้ามาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือการทำธุรกิจและบริการ
ความหมายของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้อธิบายความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer networks) ซึ่งหมายถึงกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วย ฮาร์ดแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน จะเรียกว่า internetwork หรือ internet (สังเกตว่าจะใช้ i ตัวเล็ก) แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า the Internet (ตัว I ใหญ่) จะหมายถึงกลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ (public access)
ที่มา
http://pirun.ku.ac.th/~b5011172/Page_2.html
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
- สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
- การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
- สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
- สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร
ที่มา
http://blog.eduzones.com/banny/3734
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
- สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
- การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
- สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
- สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร
ที่มา
http://blog.eduzones.com/banny/3734
การออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยี
ประกอบด้วย ธรรมชาติของเทคโนโลยี กระบวนการเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยี ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ธรรมชาติของเทคโนโลยี เป็นความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่น ความหมายของเทคโนโลยี ประโยชน์ของเทคโนโลยี ระดับของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
กระบวนการเทคโนโลยี ขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยี ช่วยในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์หรือวิธีการ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนดังนี้
1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
2.รวบรวมข้อมูล
3.เลือกวิธีการ
4.ออกแบบและปฏิบัติการ
5.ทดสอบ
6.ปรับปรุงแก้ไข
7.ประเมินผล
การออกแบบทางเทคโนโลยี ความรู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1.หลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น(Product Analysis)
2.ความรู้และทักษะการสร้างชิ้นงาน
3.การใช้ซอฟต์แวร์
4.ทรัพย์สินทางปัญญา
5.การเพิ่มผลผลิต(Productivity)
การใช้เทคโนโลยี ประกอบด้วย
1.การเลือกใช้เทคโนโลยี
2.การพัฒนาที่ยั่งยืน
2.1 เทคโนโลยีสะอาด(Clean Technology)
2.2 พลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy)
ที่มา:http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php/?Itemid=513&option=com_content&view=article&id=55
ประกอบด้วย ธรรมชาติของเทคโนโลยี กระบวนการเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยี ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ธรรมชาติของเทคโนโลยี เป็นความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่น ความหมายของเทคโนโลยี ประโยชน์ของเทคโนโลยี ระดับของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
กระบวนการเทคโนโลยี ขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยี ช่วยในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์หรือวิธีการ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนดังนี้
1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
2.รวบรวมข้อมูล
3.เลือกวิธีการ
4.ออกแบบและปฏิบัติการ
5.ทดสอบ
6.ปรับปรุงแก้ไข
7.ประเมินผล
การออกแบบทางเทคโนโลยี ความรู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1.หลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น(Product Analysis)
2.ความรู้และทักษะการสร้างชิ้นงาน
3.การใช้ซอฟต์แวร์
4.ทรัพย์สินทางปัญญา
5.การเพิ่มผลผลิต(Productivity)
การใช้เทคโนโลยี ประกอบด้วย
1.การเลือกใช้เทคโนโลยี
2.การพัฒนาที่ยั่งยืน
2.1 เทคโนโลยีสะอาด(Clean Technology)
2.2 พลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy)
ที่มา:http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php/?Itemid=513&option=com_content&view=article&id=55
การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ ( Anchored Instruction)
การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ ( Anchored Instruction)
ความหมาย
การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์จำลองซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงและแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบมาเป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ลักษณะของบทบาทสมมุติ
บทบาทสมมุติที่ผู้เรียนแสดงออกแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การแสดงบทบาทสมมุติแบบละคร เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้วผู้แสดงจะได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมด แต่จะไม่ได้รับบทที่กำหนดให้แสดงตามอย่างละเอียดผู้แสดงจะต้องแสดงออกตามความคิดของตน และดำเนินเรื่องไปตามท้องเรื่องที่กำหนดไว้แล้วซึ่งมีลักษณะเหมือนละคร
2. การแสดงบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหา เป็นการแสดงบทบาทสมมุติที่ผู้เรียนได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวแต่เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือมีความขัดแย้งแฝงอยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเสรี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่น
2. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนใช้ความรู้และทักษะในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในการเผชิญสถานการณ์ต่างๆ
3. เพื่อให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนเจตคติ พฤติกรรมและการปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนในการเรียนรู้ มีโอกาสแสดงออกและได้เรียนอย่างสนุกสนาน
5. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
6. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน
7. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
โดยสรุปวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ ก็เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะใช้บทบาทเป็นเครื่องมือในการดึงความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ เจตคติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของผู้เรียนออกมาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้
องค์ประกอบสำคัญ
1. การกำหนดสถานการณ์สมมุติ หัวข้อเรื่องหรือปัญหา
2. การกำหนดบทบาทสมมุติที่ต้องการพร้อมรายละเอียด
3. การแสดงบทบาทสมมุติ
4. กติกาควบคุมการแสดงบทบาทสมมุติ
5. การอภิปรายที่เกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมแสดงบทบาทสมมุติ
6. การสรุปผลการเรียนรู้
ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมการ
2. ขั้นเริ่มบทเรียน
3. ขั้นเลือกผู้แสดง
4. ขั้นกำหนดตัวผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม
5. ขั้นแสดง
6. ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดง
7. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป
สถานที่
การจัดสถานที่มีหลักที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ 2 ประการ
1. ต้องจัดให้เหมาะแก่สภาพการณ์ที่สมมติขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. ต้องให้ผู้ดูสามารถมองเห็นการแสดงได้อย่างชัดเจนและทั่วถึงถ้าหากเป็นการแสดงที่มีการแสดงความรู้สึกของสีหน้าก็ไม่ควรจัดให้ที่แสดงอยู่ไกลจากผู้ดูมากเกินไป
นอกจากนั้นในกรณีที่มีการอภิปรายกันหลังจากการแสดงก็ควรจัดให้ผู้อภิปรายสามารถมองเห็นกันได้ทั่วถึงและได้ยินคำพูดชัดเจนด้วย
การจัดสถานที่สำหรับแสดงหากเป็นไปได้ก็ควรจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าเท่าที่จะทำได้เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาและไม่ฉุกละหุกแต่ถ้าไม่สามารถจัดเตรียมล่วงหน้าได้ก็ควรเตรียมอุปกรณ์และคาดการณ์ต่างๆ ล่วงหน้าให้ดี
วิธีการ
เริ่มต้นด้วยผู้จัดการแสดงอธิบายให้ผู้ดูทราบถึงวัตถุประสงค์ของการแสดงว่ามีอะไรบ้าง ต้องการให้ผู้ดูศึกษาอะไรจากการแสดง โครงเรื่องอย่างคร่าว ๆ สถานที่ที่สมมติขึ้นให้เป็นอะไร ที่ไหน ตัวแสดงจำนวนเท่าไร แต่ละคนมีลักษณะอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะบอกแต่เท่าที่จำเป็นแก่การศึกษาวิเคราะห์เท่านั้น หลังจากนั้นจึงเริ่มการแสดง โดยการแสดงนี้อาจมีการซักซ้อมหรือเตรียมการกันมาล่วงหน้าแล้ว หรือใช้วิธีการเลือกตัวผู้แสดง และบอกรายละเอียดที่จำเป็นแก่การแสดงเดี๋ยวนั้นเองได้ ซึ่งวิธีหลังนี้ส่วนมากจะให้ผู้แสดงแสดงออกตามที่ตนคิด และรู้สึกในบทบาทและสถานการณ์นั้น ๆ เอง โดยไม่มีการกำหนดว่าจะให้แสดงความรู้สึกอย่างไร และไม่มีบทคำพูดก็ได้ ตามปกติการแสดงจะอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 5-10 นาที
หลังจากการแสดงแล้ว ทั้งผู้เล่นและผู้ดูจะร่วมกันอภิปรายสิ่งที่เกิดขึ้นในการแสดง เพื่อตรวจสอบหาทางแก้ หรือวิเคราะห์ปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติให้มีประสิทธิภาพ
การเตรียมการ
ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะใช้ชัดเจน และสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติที่กำหนดขึ้นควรมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง ส่วนจะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ผู้สอนอาจใช้บทบาทสมมติแบบละคร ซึ่งจะกำหนดเรื่องราวให้แสดงแต่ไม่มีบทให้ ผู้สวมบทบาทอาจใช้บทบาทสมมติแบบละคร ซึ่งจะกำหนดเรื่องราวให้แสดงแต่ไม่มีบทให้ ผู้สวมบทบาทจะต้องคิดแสดงเอง หรืออาจใช้บทบาทสมมติแบบแก้ปัญหา ซึ่งจะกำหนดสถานการณ์ที่มีปัญหาหรือความขัดแย้งให้และอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากบ้างน้อยบ้างซึ่งผู้สวมบทบาทจะใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการแสดงออกและแก้ปัญหาตามความคิดของตน
การเริ่มบทเรียน
ผู้สอนสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้หลายวิธี เช่น โยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน หรือประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนครั้งก่อน ๆ เข้าสู่เรื่องที่จะศึกษา หรืออาจใช้วิธีเล่าเรื่องหรือสถานการณ์สมมติที่เตรียมมาแล้วทิ้งท้ายด้วยปัญหา เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากคิด อยากติดตาม หรืออาจใช้วิธีชี้แจงให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์จากการเข้าร่วมแสดง และช่วยกันคิดแก้ปัญหา
การเลือกผู้แสดง
ควรเลือกให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการแสดง เช่น เลือกผู้แสดงที่มีลักษณะเหมาะสมกับบทบาท เพื่อช่วยให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่นตามวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็วหรือเลือกผู้แสดงที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับบทบาทที่กำหนดให้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนคนนั้นได้รับประสบการณ์ใหม่ ได้ทดลองแสดงพฤติกรรมใหม่ ๆ และเกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้ที่มีลักษณะต่างไปจากตน หรืออาจให้ผู้เรียนเป็นอาสาสมัครหรือเจาะจงเลือกคนใดคนหนึ่ง ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการช่วยให้บุคคลนั้นเกิดการเรียนรู้ เมื่อได้ผู้แสดงแล้ว ควรให้เวลาผู้แสดงเตรียมการแสดงโดยอาจให้ฝึกซ้อมบ้างตามความจำเป็น
การเตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม
ผู้สอนควรเตรียมผู้ชมและทำความเข้าใจกับผู้ชมว่า การแสดงบทบาทสมมตินี้ จัดขึ้นมิใช่มุ่งที่ความสนุก แต่มุ่งที่จะให้เกิดการเรียนรู้เป็นสำคัญ ดังนั้นจึงควรชมด้วยความสังเกต ผู้สอนควรให้คำแนะนำว่าควรสังเกตอะไรและควรบันทึกข้อมูลอย่างไร และผู้สอนอาจจัดทำแบบสังเกตการณ์ให้ผู้ชมใช้ในการสังเกต ด้วยก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น ได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง
2. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมของตน
3. เป็นวิธีสอนที่ช่วยพัฒนาทักษะในการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา
4. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
5. เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมาก ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและการเรียนรู้มีความหมายสำหรับผู้เรียน เพราะข้อมูลมาจากผู้เรียนโดยตรง
ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร
2. เป็นวิธีสอนที่อาศัยการเตรียมการและการจัดการอย่างรัดกุมหากจัดการไม่ดีพอ อาจเกิดความยุ่งยากสับสนขึ้นได้
3. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยความไวในการรับรู้ (sensitivity) ของผู้สอนหากผู้สอนขาดคุณสมบัตินี้ไม่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนบางคน และไม่ได้แก้ปัญหาแต่ต้นอาจเกิดเป็นปัญหาต่อเนื่องไปได้
4. เป็นการสอนที่ต้องอาศัยความสามารถของครูในการแก้ปัญหาเนื่องจากการแสดงของผู้เรียนอาจไม่เป็นไปตามความคาดหมายของผู้สอน ผู้สอนจะต้องสามารถแก้ปัญหาหรือปรับสถานการณ์และประเด็นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
สรุป
บทบาทสมมติเป็นรูปแบบการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่ช่วยสะท้อนความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ที่อยู่ภายในของผู้เรียนออกมา ทำให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมา และนำมาซึ่งการศึกษาทำความเข้าใจกันได้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดการเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกันการที่ผู้เรียนสวมบทบาทของผู้อื่น ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนเจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของตน ให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม
อ้างอิง
http://www.learners.in.th/blog/virachai/259599
http://edweb.sdsu.edu/EET/
http://translate.google.co.th/?hl=th&tab=wT
ความหมาย
การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์จำลองซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงและแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบมาเป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ลักษณะของบทบาทสมมุติ
บทบาทสมมุติที่ผู้เรียนแสดงออกแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การแสดงบทบาทสมมุติแบบละคร เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้วผู้แสดงจะได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมด แต่จะไม่ได้รับบทที่กำหนดให้แสดงตามอย่างละเอียดผู้แสดงจะต้องแสดงออกตามความคิดของตน และดำเนินเรื่องไปตามท้องเรื่องที่กำหนดไว้แล้วซึ่งมีลักษณะเหมือนละคร
2. การแสดงบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหา เป็นการแสดงบทบาทสมมุติที่ผู้เรียนได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวแต่เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือมีความขัดแย้งแฝงอยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเสรี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่น
2. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนใช้ความรู้และทักษะในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในการเผชิญสถานการณ์ต่างๆ
3. เพื่อให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนเจตคติ พฤติกรรมและการปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนในการเรียนรู้ มีโอกาสแสดงออกและได้เรียนอย่างสนุกสนาน
5. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
6. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน
7. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
โดยสรุปวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ ก็เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะใช้บทบาทเป็นเครื่องมือในการดึงความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ เจตคติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของผู้เรียนออกมาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้
องค์ประกอบสำคัญ
1. การกำหนดสถานการณ์สมมุติ หัวข้อเรื่องหรือปัญหา
2. การกำหนดบทบาทสมมุติที่ต้องการพร้อมรายละเอียด
3. การแสดงบทบาทสมมุติ
4. กติกาควบคุมการแสดงบทบาทสมมุติ
5. การอภิปรายที่เกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมแสดงบทบาทสมมุติ
6. การสรุปผลการเรียนรู้
ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมการ
2. ขั้นเริ่มบทเรียน
3. ขั้นเลือกผู้แสดง
4. ขั้นกำหนดตัวผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม
5. ขั้นแสดง
6. ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดง
7. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป
สถานที่
การจัดสถานที่มีหลักที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ 2 ประการ
1. ต้องจัดให้เหมาะแก่สภาพการณ์ที่สมมติขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. ต้องให้ผู้ดูสามารถมองเห็นการแสดงได้อย่างชัดเจนและทั่วถึงถ้าหากเป็นการแสดงที่มีการแสดงความรู้สึกของสีหน้าก็ไม่ควรจัดให้ที่แสดงอยู่ไกลจากผู้ดูมากเกินไป
นอกจากนั้นในกรณีที่มีการอภิปรายกันหลังจากการแสดงก็ควรจัดให้ผู้อภิปรายสามารถมองเห็นกันได้ทั่วถึงและได้ยินคำพูดชัดเจนด้วย
การจัดสถานที่สำหรับแสดงหากเป็นไปได้ก็ควรจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าเท่าที่จะทำได้เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาและไม่ฉุกละหุกแต่ถ้าไม่สามารถจัดเตรียมล่วงหน้าได้ก็ควรเตรียมอุปกรณ์และคาดการณ์ต่างๆ ล่วงหน้าให้ดี
วิธีการ
เริ่มต้นด้วยผู้จัดการแสดงอธิบายให้ผู้ดูทราบถึงวัตถุประสงค์ของการแสดงว่ามีอะไรบ้าง ต้องการให้ผู้ดูศึกษาอะไรจากการแสดง โครงเรื่องอย่างคร่าว ๆ สถานที่ที่สมมติขึ้นให้เป็นอะไร ที่ไหน ตัวแสดงจำนวนเท่าไร แต่ละคนมีลักษณะอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะบอกแต่เท่าที่จำเป็นแก่การศึกษาวิเคราะห์เท่านั้น หลังจากนั้นจึงเริ่มการแสดง โดยการแสดงนี้อาจมีการซักซ้อมหรือเตรียมการกันมาล่วงหน้าแล้ว หรือใช้วิธีการเลือกตัวผู้แสดง และบอกรายละเอียดที่จำเป็นแก่การแสดงเดี๋ยวนั้นเองได้ ซึ่งวิธีหลังนี้ส่วนมากจะให้ผู้แสดงแสดงออกตามที่ตนคิด และรู้สึกในบทบาทและสถานการณ์นั้น ๆ เอง โดยไม่มีการกำหนดว่าจะให้แสดงความรู้สึกอย่างไร และไม่มีบทคำพูดก็ได้ ตามปกติการแสดงจะอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 5-10 นาที
หลังจากการแสดงแล้ว ทั้งผู้เล่นและผู้ดูจะร่วมกันอภิปรายสิ่งที่เกิดขึ้นในการแสดง เพื่อตรวจสอบหาทางแก้ หรือวิเคราะห์ปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติให้มีประสิทธิภาพ
การเตรียมการ
ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะใช้ชัดเจน และสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติที่กำหนดขึ้นควรมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง ส่วนจะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ผู้สอนอาจใช้บทบาทสมมติแบบละคร ซึ่งจะกำหนดเรื่องราวให้แสดงแต่ไม่มีบทให้ ผู้สวมบทบาทอาจใช้บทบาทสมมติแบบละคร ซึ่งจะกำหนดเรื่องราวให้แสดงแต่ไม่มีบทให้ ผู้สวมบทบาทจะต้องคิดแสดงเอง หรืออาจใช้บทบาทสมมติแบบแก้ปัญหา ซึ่งจะกำหนดสถานการณ์ที่มีปัญหาหรือความขัดแย้งให้และอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากบ้างน้อยบ้างซึ่งผู้สวมบทบาทจะใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการแสดงออกและแก้ปัญหาตามความคิดของตน
การเริ่มบทเรียน
ผู้สอนสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้หลายวิธี เช่น โยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน หรือประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนครั้งก่อน ๆ เข้าสู่เรื่องที่จะศึกษา หรืออาจใช้วิธีเล่าเรื่องหรือสถานการณ์สมมติที่เตรียมมาแล้วทิ้งท้ายด้วยปัญหา เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากคิด อยากติดตาม หรืออาจใช้วิธีชี้แจงให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์จากการเข้าร่วมแสดง และช่วยกันคิดแก้ปัญหา
การเลือกผู้แสดง
ควรเลือกให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการแสดง เช่น เลือกผู้แสดงที่มีลักษณะเหมาะสมกับบทบาท เพื่อช่วยให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่นตามวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็วหรือเลือกผู้แสดงที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับบทบาทที่กำหนดให้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนคนนั้นได้รับประสบการณ์ใหม่ ได้ทดลองแสดงพฤติกรรมใหม่ ๆ และเกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้ที่มีลักษณะต่างไปจากตน หรืออาจให้ผู้เรียนเป็นอาสาสมัครหรือเจาะจงเลือกคนใดคนหนึ่ง ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการช่วยให้บุคคลนั้นเกิดการเรียนรู้ เมื่อได้ผู้แสดงแล้ว ควรให้เวลาผู้แสดงเตรียมการแสดงโดยอาจให้ฝึกซ้อมบ้างตามความจำเป็น
การเตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม
ผู้สอนควรเตรียมผู้ชมและทำความเข้าใจกับผู้ชมว่า การแสดงบทบาทสมมตินี้ จัดขึ้นมิใช่มุ่งที่ความสนุก แต่มุ่งที่จะให้เกิดการเรียนรู้เป็นสำคัญ ดังนั้นจึงควรชมด้วยความสังเกต ผู้สอนควรให้คำแนะนำว่าควรสังเกตอะไรและควรบันทึกข้อมูลอย่างไร และผู้สอนอาจจัดทำแบบสังเกตการณ์ให้ผู้ชมใช้ในการสังเกต ด้วยก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น ได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง
2. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมของตน
3. เป็นวิธีสอนที่ช่วยพัฒนาทักษะในการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา
4. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
5. เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมาก ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและการเรียนรู้มีความหมายสำหรับผู้เรียน เพราะข้อมูลมาจากผู้เรียนโดยตรง
ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร
2. เป็นวิธีสอนที่อาศัยการเตรียมการและการจัดการอย่างรัดกุมหากจัดการไม่ดีพอ อาจเกิดความยุ่งยากสับสนขึ้นได้
3. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยความไวในการรับรู้ (sensitivity) ของผู้สอนหากผู้สอนขาดคุณสมบัตินี้ไม่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนบางคน และไม่ได้แก้ปัญหาแต่ต้นอาจเกิดเป็นปัญหาต่อเนื่องไปได้
4. เป็นการสอนที่ต้องอาศัยความสามารถของครูในการแก้ปัญหาเนื่องจากการแสดงของผู้เรียนอาจไม่เป็นไปตามความคาดหมายของผู้สอน ผู้สอนจะต้องสามารถแก้ปัญหาหรือปรับสถานการณ์และประเด็นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
สรุป
บทบาทสมมติเป็นรูปแบบการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่ช่วยสะท้อนความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ที่อยู่ภายในของผู้เรียนออกมา ทำให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมา และนำมาซึ่งการศึกษาทำความเข้าใจกันได้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดการเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกันการที่ผู้เรียนสวมบทบาทของผู้อื่น ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนเจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของตน ให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม
อ้างอิง
http://www.learners.in.th/blog/virachai/259599
http://edweb.sdsu.edu/EET/
http://translate.google.co.th/?hl=th&tab=wT
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ยินดีต้อนรับค่ะ
ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู้ bligger ค่ะ สนใจไรก็ดูเอานะค่ะ อิอิ อารมณ์ดีเพราะมีความสุข มีอะไรก็แชร์ๆกันนะค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ขั้นตอนการทำหนัง
งานชิ้นที่ 1
ขั้นตอนการทำหนัง
การทำหนังสั้นได้นำหลักการที่มาใช้คือ 3P คือ
Pre production
1.ประชุมหาเรื่องที่จะมาจัดทำหนัง และแบ่งหน้าที่การทำงาน
2.หาข้อมูล
3.เขียนบท
4.จัดทำสตอรี่บอร์ด
5.หาสถานที่ถ่ายทำ
6.หาตัวแสดง
Production
ถ่ายทำหนัง
Post Production
ตัดต่อเรียบเรียงหนัง และใส่เสียงเพลงประกอบ
นำเสนอต่อผู้ชม
อุปกรณ์ที่ใช้
• กล้อง DSLR 4 ตัว รุ่น cannon d 500 3 ตัว cannon d 550
• ขาตั้งกล้อง
โปรแกรมที่ใช้ตัดต่อ
• Adobe Premiere Pro cs3
ขั้นตอนการทำหนัง
การทำหนังสั้นได้นำหลักการที่มาใช้คือ 3P คือ
Pre production
1.ประชุมหาเรื่องที่จะมาจัดทำหนัง และแบ่งหน้าที่การทำงาน
2.หาข้อมูล
3.เขียนบท
4.จัดทำสตอรี่บอร์ด
5.หาสถานที่ถ่ายทำ
6.หาตัวแสดง
Production
ถ่ายทำหนัง
Post Production
ตัดต่อเรียบเรียงหนัง และใส่เสียงเพลงประกอบ
นำเสนอต่อผู้ชม
อุปกรณ์ที่ใช้
• กล้อง DSLR 4 ตัว รุ่น cannon d 500 3 ตัว cannon d 550
• ขาตั้งกล้อง
โปรแกรมที่ใช้ตัดต่อ
• Adobe Premiere Pro cs3
สรุปการเรียนรายวิชา 0503306
นางสาวจินตหรา เขาวงค์ รหัส 52010516007 ระบบปกติ
1. ด้านเนื้อหา
สำหรับเนื้อหาในการเรียนรายวิชา 0503306 ที่เรียนผ่านระบบออนไลน์นั้น เนื้อหามีความหลากหลาย สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน อ่านเข้าใจง่าย มีให้โหลดไปศึกษาได้ภายหลังก็ได้ แต่ข้อเสียจะอยู่ที่ว่าโหลดไปแล้วไวรัสเข้าเครื่อง แต่ก็ยังดีที่มีให้ศึกษาได้ภายหลัง
2. ด้านการจัดการเรียนการสอน
ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถจัดได้ดี เพราะมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนและผู้สอนเข้าด้วยกันเพื่อที่จะเข้าไปค่อยดูแล ความประพฤติและเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ก็เป็นการดี เข้าใจง่ายมีปัญหาอะไรก็ปรึกษาพี่ที่ค่อยเป็นที่ปรึกษาในกลุ่มได้ ทำให้เรียนรู้ได้ทั่วถึง เข้าใจกันดีทุกคน แต่มีปัญหาที่มีทฤษฏีมากเกินไป ภาคปฏิบัติน้อย อย่างเรียนรู้ภาคปฏิบัติให้มาก เช่น การทำสตูดิโอจริงๆ การเรียนโปรแกรมต่างๆ การจัดแสง สี เสียง จริงๆ แต่ติดที่เราสถานที่ไม่มี แต่ภาพรวมๆก็ดีค่ะ
3. ด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (LMS)
ในการเรียนการสอนก็มีความสะดวกสบายมากในการดาวน์โหลดเนื้อหามาอ่านเองหรือสามารถเตรียมเนื้อหาก่อนล่วงหน้าได้ ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ทัน เพราะผู้เรียนสามารถทบทวนมาก่อนก็ได้หรือสามารถทบทวนทีหลังก็ได้ และเป็นการให้ผู้เรียนฝึกเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักแสว่งหาความรู้ด้วยตนเอง และยังเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายที่นำเนื้อหาในบทเรียนขึ้นระบบพร้อมแบบฝึกหัด ซึ่งเราสามารถเข้าบทเรียนได้อย่างสะดวกและไม่จำกัดเวลา สถานที่ ด้วย ทั้งยังมีกระดาษสนทนา ซึ่งสามารถตอบข้อสักถามที่เกิดจากการสงสัยในการเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการแลกเปลี่ยนทัศนะคติ ความคิดกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับอาจารย์
4. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียน โดยเน้นทักษะการแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง และกลุ่ม
ในการจัดกิจกรรมในบทเรียนนี้รูปแบบออนไลน์ จะไม่ค่อยได้ผลซักเท่าไหร่เพราะผู้เรียนอาจจะไม่ทำกิจกรรมนั้นด้วยตนเอง อาจจะให้คนอื่นเป็นคนทำให้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนไม่ได้ความรู้หรือทักษะตามจุดประสงค์ของผู้สอน และ เด็กอาจจะไม่เข้าใจในการเรียนแบบนี้ บางคนอาจจะขาดทักษะในการใช้อินเทอร์เน็ต ในการสืบค้นข้อมูล ในการเรียนรู้ และอาจไม่เข้าในเนื้อหาที่เรียน
และในการจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งเป็นการเน้นการแก้ปัญหาด้วยตนเอง หรือเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง บางโอกาส การที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาด้วยตนเองนั้นก็ไม่ได้ผลตามที่ผู้สอนวางเป้าหมายไว้ เพราะบางครั้งการเรียนรู้ด้วยตนเองมากเกินไปโดยไม่มีผู้ชี้ทางก็ทำให้ผู้เรียนไม่มีกำลังใจที่จะค้นคว้าหาความรู้ และการที่มีงานเยอะเกินไปก็ทำให้ผู้เรียนท้อแท้ในการทำกิจกรรมได้ แต่รวมการเรียนออนไลน์แบบนี้ก็ดีและเหมาะกับยุคสมัยนี้มากๆเลยค่ะ ได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีเน็ตค่ะ
1. ด้านเนื้อหา
สำหรับเนื้อหาในการเรียนรายวิชา 0503306 ที่เรียนผ่านระบบออนไลน์นั้น เนื้อหามีความหลากหลาย สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน อ่านเข้าใจง่าย มีให้โหลดไปศึกษาได้ภายหลังก็ได้ แต่ข้อเสียจะอยู่ที่ว่าโหลดไปแล้วไวรัสเข้าเครื่อง แต่ก็ยังดีที่มีให้ศึกษาได้ภายหลัง
2. ด้านการจัดการเรียนการสอน
ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถจัดได้ดี เพราะมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนและผู้สอนเข้าด้วยกันเพื่อที่จะเข้าไปค่อยดูแล ความประพฤติและเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ก็เป็นการดี เข้าใจง่ายมีปัญหาอะไรก็ปรึกษาพี่ที่ค่อยเป็นที่ปรึกษาในกลุ่มได้ ทำให้เรียนรู้ได้ทั่วถึง เข้าใจกันดีทุกคน แต่มีปัญหาที่มีทฤษฏีมากเกินไป ภาคปฏิบัติน้อย อย่างเรียนรู้ภาคปฏิบัติให้มาก เช่น การทำสตูดิโอจริงๆ การเรียนโปรแกรมต่างๆ การจัดแสง สี เสียง จริงๆ แต่ติดที่เราสถานที่ไม่มี แต่ภาพรวมๆก็ดีค่ะ
3. ด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (LMS)
ในการเรียนการสอนก็มีความสะดวกสบายมากในการดาวน์โหลดเนื้อหามาอ่านเองหรือสามารถเตรียมเนื้อหาก่อนล่วงหน้าได้ ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ทัน เพราะผู้เรียนสามารถทบทวนมาก่อนก็ได้หรือสามารถทบทวนทีหลังก็ได้ และเป็นการให้ผู้เรียนฝึกเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักแสว่งหาความรู้ด้วยตนเอง และยังเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายที่นำเนื้อหาในบทเรียนขึ้นระบบพร้อมแบบฝึกหัด ซึ่งเราสามารถเข้าบทเรียนได้อย่างสะดวกและไม่จำกัดเวลา สถานที่ ด้วย ทั้งยังมีกระดาษสนทนา ซึ่งสามารถตอบข้อสักถามที่เกิดจากการสงสัยในการเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการแลกเปลี่ยนทัศนะคติ ความคิดกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับอาจารย์
4. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียน โดยเน้นทักษะการแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง และกลุ่ม
ในการจัดกิจกรรมในบทเรียนนี้รูปแบบออนไลน์ จะไม่ค่อยได้ผลซักเท่าไหร่เพราะผู้เรียนอาจจะไม่ทำกิจกรรมนั้นด้วยตนเอง อาจจะให้คนอื่นเป็นคนทำให้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนไม่ได้ความรู้หรือทักษะตามจุดประสงค์ของผู้สอน และ เด็กอาจจะไม่เข้าใจในการเรียนแบบนี้ บางคนอาจจะขาดทักษะในการใช้อินเทอร์เน็ต ในการสืบค้นข้อมูล ในการเรียนรู้ และอาจไม่เข้าในเนื้อหาที่เรียน
และในการจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งเป็นการเน้นการแก้ปัญหาด้วยตนเอง หรือเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง บางโอกาส การที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาด้วยตนเองนั้นก็ไม่ได้ผลตามที่ผู้สอนวางเป้าหมายไว้ เพราะบางครั้งการเรียนรู้ด้วยตนเองมากเกินไปโดยไม่มีผู้ชี้ทางก็ทำให้ผู้เรียนไม่มีกำลังใจที่จะค้นคว้าหาความรู้ และการที่มีงานเยอะเกินไปก็ทำให้ผู้เรียนท้อแท้ในการทำกิจกรรมได้ แต่รวมการเรียนออนไลน์แบบนี้ก็ดีและเหมาะกับยุคสมัยนี้มากๆเลยค่ะ ได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีเน็ตค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
รูปแบบการจัดการเรียนเรียนร่วมเด็กพิเศษ 9 ประเภท
เรียบเรียงโดยนางสาวจินตหรา เขาวงค์ 52010516007
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
บทความเรื่อง
รูปแบบการจัดการเรียนเรียนร่วมในโรงเรียน
การจัดการศึกษาพิเศษเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิการ โดยที่รัฐบาลได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องการให้การช่วยเหลือเด็กพิการประเภทต่าง ๆ ที่มีทั้งหมด 9 ประเภท ซึ่งในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เด็กพิการเหล่านี้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นคนที่มีสุขภาพดีตามศักยภาพที่เด็กพิการจะพึงได้จนสามารถช่วยเหลือตนเอง ไม่เป็นภาระของสังคมมากนัก และโยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคคลสามารถได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม เด็กพิการก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกได้เท่าเทียมกับผู้อื่น
เนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หรือที่เรียกว่าเป็นกฎหมายทางการศึกษา เป็นกฎหมายมาตรา 10 กำหนดว่าการจัดการต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย อีกทั้งความในวรรค 2 และวรรค 3 ระบุต้องจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจสติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือผู้มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพไม่สามารถช่วยตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล ด้อยโอกาส และบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ (ปัญญาเลิศ) ต้องจัดในรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น แสดงว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หรือกฎหมายทางการศึกษาของประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาให้บุคคลทุกประเภท เป็นหลักการเดียวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม ที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคน ได้รับโอกาสทางการศึกษาตามความสามารถของแต่ละบุคคลนั่นคือการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงก้าวต่อไปของการจัดการเรียนร่วมนั่นเอง หน้าที่ของโรงเรียนละเปลี่ยนไปหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ ยังเหมือนเดิมเพียงแต่การดำเนินงานจัดการศึกษาต่อไปนี้ ครูทุกคนต้องรู้จักเด็กของตนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นรูปธรรมต้องรู้ให้ชัดว่าเด็กคนใดมีลักษณะอย่างไร ต้องการความช่วยเหลือแบบไหน เหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนทุกตามกฎหมายทั้งสิ้น มิใช่ เป็นหน้าที่ของครูการศึกษาพิเศษหรือครูที่ผ่านการอบรมการศึกษาพิเศษต่อไป ที่ผ่านมา คงพอจะเห็นรูปแบบการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องพิเศษในโรงเรียนกันบ้างแล้วและสังเกตได้ว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาแบบนี้จะต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่ บุคคลกร งบบริหารจัดการต่าง ๆ ทำให้การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆด้วยข้อจำกัดของปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
การเตรียมการสำหรับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
1. เตรียมความพร้อมของโรงเรียน ต้องเตรียมความพร้อมในด้านเจตคติของบุคลากรในโรงเรียน ความพร้อมในด้านกายภาพ จำนวนบุคคลกร ความรู้ ความเข้าใจ หลักการและวิธีดำเนินการเรียนร่วมในการปฏิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้บริหาร ต้องมีเจตคติที่ดี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมมีหลักในการบริหารโรงเรียนที่ดี ทำความเข้าใจกับบุคคลกรทุกฝ่ายในโรงเรียน และจัดหาบริการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนร่วม พร้อมทั้งส่งเสริมกำลังใจในการปฏิบัติงาน
2. ประชุมครูและบุคคลกรของโรงเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วม เพื่อบุคลากรในโรงเรียนจะได้รู้ว่าโรงเรียนจะต้องทำอะไร ด้วยเหตุผลอะไร ทำกับใคร และคนที่จะทำคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้างโดยเฉพาะครูชั้นเรียนร่วม ต้องยอมรับว่าในชั้นของตนเองมีเด็กพิเศษอยู่ด้วยเพราะฉะนั้นต้องเพิ่มบทบาทในการเป็นครูประจำชั้นโดยหน้าที่ปกครองดูแลเด็กทั้งชั้นให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ทุกคนมีโอกาสได้รับการส่งเสริมในการเรียนรู้ ค้นพบความสามารถและบรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตน และต้องเข้าใจวิธีการประสานงานกับบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนร่วมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. จัดหาบุคลากรรับผิดชอบงานโดยสรรหาบุคลากรในโรงเรียนที่มีวุฒิด้านการศึกษาโดยตรง หรือผู้ที่สมัครใจส่งเข้าอบรมหลักสูตรวิชาการศึกษาพิเศษเพื่อทำหน้าที่สอนประจำชั้นเด็กพิเศษ หรือเป็นครูสอนเสริมวิชาการ ครูเดินสอน ครูประจำชั้นเรียนร่วม ครูประจำวิชา
4. จัดหาห้องเรียน ห้องเสริมวิชาการ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษรวมทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ได้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ
5. ทำความเข้าใจ ให้ความรู้และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการเรียนร่วมของเด็ก เช่น ผู้ปกครองเด็กปกติ
เด็กปกติในโรงเรียน ตลอดทั้งชุมชน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เข้าใจความจำเป็น ให้ความเห็นใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกับเด็กพิเศษ โดยไม่คิดว่าเด็กพิเศษเป็นภาระและถ่วงความก้าวหน้าของบุตรหลานตน ส่วนนักเรียนปกติก็ต้องเตรียมใจยอมรับและเรียนร่วมกับเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษ ไม่ล้อเลียน ควรให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่เพื่อนเด็กพิเศษทำไม่ได้
รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสามารถทำได้ดังนี้
1.ชั้นเรียนปกติเต็มวัน การเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาโดยอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น นักเรียนและครูจะได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษทางอ้อมเช่นการฝึกอบรมครูประจำการ ครูการศึกษาพิเศษ ส่วนเด็ก ๆ จะได้รับบริการวัสดุอุปกรณ์เท่าที่จำเป็น
2.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ นักเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลา จะอยู่ในความรับชอบของครูประจำชั้นและมีผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ทั้งเรื่องการศึกษาพิเศษและการศึกษาปกติร่วมให้คำปรึกษา เช่นนักจิตวิทยา ครูการศึกษาพิเศษเดินสอนหรือสอนเสริมในโรงเรียนบุคคลเหล่านี้จะไม่สอนเด็กโดยตรงแต่จะคอยแนะนำช่วยเหลือเหลือครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชา และจัดหาบริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ
3.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน นักเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาภายใต้ความรับผิดชอบของครูประจำชั้น แต่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนโดยตรงจากครูเดินสอน เช่น นักกายภาพบำบัด ครูแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษ ครูช่วยสอนเสริม ที่เดินทางไปให้บริการตามโรงเรียนต่าง ๆ
4.ชั้นเรียนปกติเต็มวันบริการสอนเสริม การเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น ได้รับการสอนเสริมหรือเพิ่มเติมจากครูการศึกษาพิเศษประจำห้องสอนเสริม โดยให้นักเรียนมาเรียนกับครูสอนเสริมบางเวลาและบางวิชาที่เด็กบกพร่อง หรือทักษะที่เด็กมีความต้องการจำเป็นพิเศษ แต่ปัจจุบันครูสอนเสริมจะสอนร่วมกับครูในชั้นเรียนมากกว่าจะนำเด็กออกมาเรียนห้องสอนเสริม
5.ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ (หรือการเรียนร่วมเป็นบางวิชา) นักเรียนในชั้นเรียนพิเศษเข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติมากน้อยตามสมควร อาจเรียนร่วมวิชา เช่น พลศึกษา ศิลปะ ดนตรี การงาน พื้นฐานอาชีพ จริยศึกษา ครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมกับงานร่วมกันรับผิดชอบรูปแบบนี้จัดได้ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
6.ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ นักเรียนในชั้นเรียนพิเศษเต็มเวลาร่วมกับเพื่อนพิการ ประมาณ 5 – 10 คน มีครูประจำชั้นเป็นผู้สอนเองทุกวิชา เด็กจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กทั่วไป เช่น เข้าแถวเคารพธงชาติสวดมนต์ไหว้พระ รับประทานอาหารไปทัศนศึกษา เป็นต้น
ประโยชน์ของการจัดการเรียนร่วม
1.เด็กพิเศษมีโอกาสได้เรียนโรงเรียนใกล้บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ ซึ่งมีน้อยและอยู่ห่างไกล
2.ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองที่ไม่ต้องส่งไปอยู่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนประจำ
3.เด็กพิเศษมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว โดยไม่รู้สึกแบ่งแยกว่าเป็นเด็กพิการ
4.เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เร็วกว่าการที่ต้องไปอยู่โรงเรียนของเด็กพิการ เป็นประสบการณ์ตรงที่จะเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
5.รัฐบาลใช้งบประมาณน้อยกว่าการจัดโรงเรียนพิเศษเฉพาะเด็กพิการ
6.สังคมจะเข้าใจและยอมรับเด็กพิเศษว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมช่วยให้เด็กพิเศษใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และทำประโยชน์ให้แก่สังคม
ปัญหาของการเรียนร่วม
1.ผู้ปกครองเด็กพิเศษบางคนห่วง กังวลและกลัวว่าลูกจะลำบาก จะถูกเด็กอื่นล้อหรือรังแก
2.ผู้ปกครองที่มีลูกปกติก็ห่วงว่า ถ้าลูกของตนเองต้องเรียนร่วมกับเด็กพิเศษ ก็จะเลียนแบบหรือทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควรซึ่งนักวิจัยยังไม่พบว่าเด็กปกติจะเลียนแบบเด็กพิเศษจนถึงขั้นที่ไม่เหมาะเช่นนั้น
3.ปัญหาในส่วนครูก็คือครูไม่แน่ใจว่าจะสอนเด็กพิเศษอย่างไร เพราะขาดประสบการณ์ไม่มั่นใจเกรงว่าต้องสละเวลาของตนให้กับเด็กพิเศษมากเกินไป
สรุป
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม มีหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน การจัดให้เด็กได้เรียนร่วมแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบจากบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย เช่นผู้ปกครอง ตัวเด็กพิเศษ โรงเรียน ผู้บริหาร ครู แพทย์ และนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
บทความเสริมเรื่อง การศึกษาพิเศษ (Special Educational)
การศึกษาพิเศษหมายถึงอะไร
การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาให้สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสายตา เด็กที่มีความบกพร่องด้านการได้ยิน เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ และสังคม หรือเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้จะไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดการศึกษาแบบเดียวกันกับเด็กปกติ
ดังนั้น การศึกษาพิเศษจึงมีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าว ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษได้รวมถึงด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา (หลักสูตร) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อความสามารถ และความต้องการของเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล
กระบวนการและองค์ประกอบของการสอนเด็กพิเศษ
• เริ่มจากสังเกตพฤติกรรมทั่วไป และทำการประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อจัดวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP : Individual Education Program) โดยเน้นการใช้เทคนิคการสอนทางการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมกับปัญหา และความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล
• ในการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ต้องมีการวางแผนการสอนด้วยความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง นักการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษ
• เทคนิคการสอนเด็กพิเศษควรผสมผสานความเข้าใจด้านจิตวิทยาเด็กที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม ภาวะอาการ และความต้องการพิเศษของเด็ก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนเด็กพิเศษได้อย่างมี ประสิทธิผล
• หลังจากผ่านการประเมินจากแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แล้ว จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักสูตร และวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นแผนการสอนรายบุคคล (IIP : Individual Implementation Program) ซึ่งเน้นวิธีการสอน และกระบวนการสอนอย่างเป็นระบบ มีลำดับขั้นตอนการสอนในเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชา
• การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัลอย่างมีเงื่อนไข
• ทำการประเมินผลการเรียนไปพร้อม ๆ กันกับการปรับเปลี่ยนแผนการสอนหากพบข้อบกพร่องในการเรียนการสอน นอกจากนี้ ควรสนับสนุนให้เด็กสามารถเรียนรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมถึงการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความรู้ และแสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ
• ขอบข่าย และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษ
• ทำการคัดกรองและประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อให้ทราบถึงระดับความสามารถ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
• ให้การส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมแก่เด็กตามพัฒนาการที่พึงประสงค์ในแต่ละช่วงวัย
• มีการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อพัฒนาการ และความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน
• ให้คำแนะนำและทำความเข้าใจแก่ผู้ปกครองหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก ว่าควรให้การส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กในด้านใดบ้าง เช่น ทักษะด้านการคิด ทักษะด้านวิชาการ ทักษะด้านการสื่อความหมาย และการใช้ภาษา เป็นต้น
• ให้การฝึกฝนและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ และถูกต้องเหมาะสมต่อ สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์
• มีการเสริมประสบการณ์พิเศษแก่เด็กเพื่อให้เด็กมี โลกทัศน์ที่กว้างขึ้นรวมถึงความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
กรณีตัวอย่าง
การจัดการเรียนการสอน "เรื่องวงรี" มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กสามารถ ชี้ หยิบ บอก วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นรูปวงรีได้ โดยนักการศึกษาพิเศษจะเริ่มสอนโดยการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อน เช่น ให้ร้องเพลงเกี่ยวกับไข่ จากนั้นให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่าลักษณะของไข่เป็นรูปวงรี เมื่อเด็กเห็นวัตถุต่างๆ รอบตัวที่มีลักษณะเหมือนไข่ เด็กจะสามารถสรุปได้ว่าเป็นรูปวงรี นอกจากนี้ ยังมีการใช้สื่อต่างๆ ประกอบในการสอน เช่น ให้เด็กตัดกระดาษ หรือให้เด็กใช้นิ้วระบายสีเป็นรูปวงรีร่วมด้วย
การจัดการเรียนการสอนเรื่องตัวเลข "0 - 9" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กสามารถ ชี้ หยิบ บอก ตัวเลข 0 - 9 ได้ โดยนักการศึกษาพิเศษจะเริ่มสอนโดยการเตรียมความพร้อมของเด็กก่อน เช่น ท่อง 1 - 10 พร้อมกัน ช่วยกันหาตัวเลขที่มีอยู่รอบๆ ห้องเรียน จากนั้นนำตัวเลขจำลองให้เด็กสัมผัสและใช้นิ้วมือลากตามตัวเลข พร้อมทั้งออกเสียงตามครูซ้ำ ๆ 5 - 7 ครั้ง ต่อ 1 ตัวเลข นอกจากนี้ ยังมีการใช้สื่อต่างๆ ในการสอน ตัวอย่างเช่น โรยทรายลงบนตัวเลขที่กำหนดให้ เป็นต้น
ในกรณีที่เด็กมีภาวะไม่อยู่นิ่ง บทบาทของนักการศึกษาพิเศษจะช่วยจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับภาวะอาการของเด็ก โดยจัดให้เด็กเรียนรู้ผ่าน กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เช่น เมื่อเด็กเรียนเรื่องวงรี อาจจะจัดวางรูปวงรีตามมุมต่าง ๆ ของห้องเรียน หรือ จัดการแข่งขันหาตัวเลขต่าง ๆ ตามคำสั่งของครู เพื่อให้เด็กสามารถเรียนร่วมกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนได้ และเมื่อเด็กทำได้สำเร็จจะก่อให้เกิดความภาคภูมิในใจตนเอง และมีความสนใจที่จะเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
สรุป
การแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษล้วนจะได้รับประโยชน์จาการเรียนร่วมกันสำหรับเด็กพิเศษสามารถเรียนรู้ทักษะทางสังคมและการช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น เด็กปกติก็เรียนรู้ความอดทน มีความเข้าใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่แตกต่างจากตน รวมทั้งมีความภาคภูมิใจที่ตนได้ช่วยเหลือคนอื่น
ที่มา
http://pookam.multiply.com/journal/item/10/10
http://www.specialchild.co.th/knowledge.asp?article=1
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
บทความเรื่อง
รูปแบบการจัดการเรียนเรียนร่วมในโรงเรียน
การจัดการศึกษาพิเศษเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิการ โดยที่รัฐบาลได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องการให้การช่วยเหลือเด็กพิการประเภทต่าง ๆ ที่มีทั้งหมด 9 ประเภท ซึ่งในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เด็กพิการเหล่านี้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นคนที่มีสุขภาพดีตามศักยภาพที่เด็กพิการจะพึงได้จนสามารถช่วยเหลือตนเอง ไม่เป็นภาระของสังคมมากนัก และโยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคคลสามารถได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม เด็กพิการก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกได้เท่าเทียมกับผู้อื่น
เนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หรือที่เรียกว่าเป็นกฎหมายทางการศึกษา เป็นกฎหมายมาตรา 10 กำหนดว่าการจัดการต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย อีกทั้งความในวรรค 2 และวรรค 3 ระบุต้องจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจสติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือผู้มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพไม่สามารถช่วยตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล ด้อยโอกาส และบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ (ปัญญาเลิศ) ต้องจัดในรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น แสดงว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หรือกฎหมายทางการศึกษาของประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาให้บุคคลทุกประเภท เป็นหลักการเดียวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม ที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคน ได้รับโอกาสทางการศึกษาตามความสามารถของแต่ละบุคคลนั่นคือการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงก้าวต่อไปของการจัดการเรียนร่วมนั่นเอง หน้าที่ของโรงเรียนละเปลี่ยนไปหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ ยังเหมือนเดิมเพียงแต่การดำเนินงานจัดการศึกษาต่อไปนี้ ครูทุกคนต้องรู้จักเด็กของตนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นรูปธรรมต้องรู้ให้ชัดว่าเด็กคนใดมีลักษณะอย่างไร ต้องการความช่วยเหลือแบบไหน เหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนทุกตามกฎหมายทั้งสิ้น มิใช่ เป็นหน้าที่ของครูการศึกษาพิเศษหรือครูที่ผ่านการอบรมการศึกษาพิเศษต่อไป ที่ผ่านมา คงพอจะเห็นรูปแบบการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องพิเศษในโรงเรียนกันบ้างแล้วและสังเกตได้ว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาแบบนี้จะต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่ บุคคลกร งบบริหารจัดการต่าง ๆ ทำให้การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆด้วยข้อจำกัดของปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
การเตรียมการสำหรับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
1. เตรียมความพร้อมของโรงเรียน ต้องเตรียมความพร้อมในด้านเจตคติของบุคลากรในโรงเรียน ความพร้อมในด้านกายภาพ จำนวนบุคคลกร ความรู้ ความเข้าใจ หลักการและวิธีดำเนินการเรียนร่วมในการปฏิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้บริหาร ต้องมีเจตคติที่ดี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมมีหลักในการบริหารโรงเรียนที่ดี ทำความเข้าใจกับบุคคลกรทุกฝ่ายในโรงเรียน และจัดหาบริการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนร่วม พร้อมทั้งส่งเสริมกำลังใจในการปฏิบัติงาน
2. ประชุมครูและบุคคลกรของโรงเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วม เพื่อบุคลากรในโรงเรียนจะได้รู้ว่าโรงเรียนจะต้องทำอะไร ด้วยเหตุผลอะไร ทำกับใคร และคนที่จะทำคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้างโดยเฉพาะครูชั้นเรียนร่วม ต้องยอมรับว่าในชั้นของตนเองมีเด็กพิเศษอยู่ด้วยเพราะฉะนั้นต้องเพิ่มบทบาทในการเป็นครูประจำชั้นโดยหน้าที่ปกครองดูแลเด็กทั้งชั้นให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ทุกคนมีโอกาสได้รับการส่งเสริมในการเรียนรู้ ค้นพบความสามารถและบรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตน และต้องเข้าใจวิธีการประสานงานกับบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนร่วมและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. จัดหาบุคลากรรับผิดชอบงานโดยสรรหาบุคลากรในโรงเรียนที่มีวุฒิด้านการศึกษาโดยตรง หรือผู้ที่สมัครใจส่งเข้าอบรมหลักสูตรวิชาการศึกษาพิเศษเพื่อทำหน้าที่สอนประจำชั้นเด็กพิเศษ หรือเป็นครูสอนเสริมวิชาการ ครูเดินสอน ครูประจำชั้นเรียนร่วม ครูประจำวิชา
4. จัดหาห้องเรียน ห้องเสริมวิชาการ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษรวมทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ได้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ
5. ทำความเข้าใจ ให้ความรู้และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการเรียนร่วมของเด็ก เช่น ผู้ปกครองเด็กปกติ
เด็กปกติในโรงเรียน ตลอดทั้งชุมชน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เข้าใจความจำเป็น ให้ความเห็นใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกับเด็กพิเศษ โดยไม่คิดว่าเด็กพิเศษเป็นภาระและถ่วงความก้าวหน้าของบุตรหลานตน ส่วนนักเรียนปกติก็ต้องเตรียมใจยอมรับและเรียนร่วมกับเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษ ไม่ล้อเลียน ควรให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่เพื่อนเด็กพิเศษทำไม่ได้
รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสามารถทำได้ดังนี้
1.ชั้นเรียนปกติเต็มวัน การเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาโดยอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น นักเรียนและครูจะได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษทางอ้อมเช่นการฝึกอบรมครูประจำการ ครูการศึกษาพิเศษ ส่วนเด็ก ๆ จะได้รับบริการวัสดุอุปกรณ์เท่าที่จำเป็น
2.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ นักเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลา จะอยู่ในความรับชอบของครูประจำชั้นและมีผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ทั้งเรื่องการศึกษาพิเศษและการศึกษาปกติร่วมให้คำปรึกษา เช่นนักจิตวิทยา ครูการศึกษาพิเศษเดินสอนหรือสอนเสริมในโรงเรียนบุคคลเหล่านี้จะไม่สอนเด็กโดยตรงแต่จะคอยแนะนำช่วยเหลือเหลือครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชา และจัดหาบริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ
3.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน นักเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาภายใต้ความรับผิดชอบของครูประจำชั้น แต่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนโดยตรงจากครูเดินสอน เช่น นักกายภาพบำบัด ครูแก้ไขการพูด ครูการศึกษาพิเศษ ครูช่วยสอนเสริม ที่เดินทางไปให้บริการตามโรงเรียนต่าง ๆ
4.ชั้นเรียนปกติเต็มวันบริการสอนเสริม การเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น ได้รับการสอนเสริมหรือเพิ่มเติมจากครูการศึกษาพิเศษประจำห้องสอนเสริม โดยให้นักเรียนมาเรียนกับครูสอนเสริมบางเวลาและบางวิชาที่เด็กบกพร่อง หรือทักษะที่เด็กมีความต้องการจำเป็นพิเศษ แต่ปัจจุบันครูสอนเสริมจะสอนร่วมกับครูในชั้นเรียนมากกว่าจะนำเด็กออกมาเรียนห้องสอนเสริม
5.ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ (หรือการเรียนร่วมเป็นบางวิชา) นักเรียนในชั้นเรียนพิเศษเข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติมากน้อยตามสมควร อาจเรียนร่วมวิชา เช่น พลศึกษา ศิลปะ ดนตรี การงาน พื้นฐานอาชีพ จริยศึกษา ครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมกับงานร่วมกันรับผิดชอบรูปแบบนี้จัดได้ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
6.ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ นักเรียนในชั้นเรียนพิเศษเต็มเวลาร่วมกับเพื่อนพิการ ประมาณ 5 – 10 คน มีครูประจำชั้นเป็นผู้สอนเองทุกวิชา เด็กจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กทั่วไป เช่น เข้าแถวเคารพธงชาติสวดมนต์ไหว้พระ รับประทานอาหารไปทัศนศึกษา เป็นต้น
ประโยชน์ของการจัดการเรียนร่วม
1.เด็กพิเศษมีโอกาสได้เรียนโรงเรียนใกล้บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ ซึ่งมีน้อยและอยู่ห่างไกล
2.ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองที่ไม่ต้องส่งไปอยู่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนประจำ
3.เด็กพิเศษมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว โดยไม่รู้สึกแบ่งแยกว่าเป็นเด็กพิการ
4.เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เร็วกว่าการที่ต้องไปอยู่โรงเรียนของเด็กพิการ เป็นประสบการณ์ตรงที่จะเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
5.รัฐบาลใช้งบประมาณน้อยกว่าการจัดโรงเรียนพิเศษเฉพาะเด็กพิการ
6.สังคมจะเข้าใจและยอมรับเด็กพิเศษว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมช่วยให้เด็กพิเศษใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และทำประโยชน์ให้แก่สังคม
ปัญหาของการเรียนร่วม
1.ผู้ปกครองเด็กพิเศษบางคนห่วง กังวลและกลัวว่าลูกจะลำบาก จะถูกเด็กอื่นล้อหรือรังแก
2.ผู้ปกครองที่มีลูกปกติก็ห่วงว่า ถ้าลูกของตนเองต้องเรียนร่วมกับเด็กพิเศษ ก็จะเลียนแบบหรือทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควรซึ่งนักวิจัยยังไม่พบว่าเด็กปกติจะเลียนแบบเด็กพิเศษจนถึงขั้นที่ไม่เหมาะเช่นนั้น
3.ปัญหาในส่วนครูก็คือครูไม่แน่ใจว่าจะสอนเด็กพิเศษอย่างไร เพราะขาดประสบการณ์ไม่มั่นใจเกรงว่าต้องสละเวลาของตนให้กับเด็กพิเศษมากเกินไป
สรุป
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม มีหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน การจัดให้เด็กได้เรียนร่วมแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบจากบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย เช่นผู้ปกครอง ตัวเด็กพิเศษ โรงเรียน ผู้บริหาร ครู แพทย์ และนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
บทความเสริมเรื่อง การศึกษาพิเศษ (Special Educational)
การศึกษาพิเศษหมายถึงอะไร
การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาให้สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสายตา เด็กที่มีความบกพร่องด้านการได้ยิน เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ และสังคม หรือเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้จะไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดการศึกษาแบบเดียวกันกับเด็กปกติ
ดังนั้น การศึกษาพิเศษจึงมีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าว ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษได้รวมถึงด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา (หลักสูตร) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อความสามารถ และความต้องการของเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล
กระบวนการและองค์ประกอบของการสอนเด็กพิเศษ
• เริ่มจากสังเกตพฤติกรรมทั่วไป และทำการประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อจัดวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP : Individual Education Program) โดยเน้นการใช้เทคนิคการสอนทางการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมกับปัญหา และความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล
• ในการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ต้องมีการวางแผนการสอนด้วยความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง นักการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษ
• เทคนิคการสอนเด็กพิเศษควรผสมผสานความเข้าใจด้านจิตวิทยาเด็กที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม ภาวะอาการ และความต้องการพิเศษของเด็ก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนเด็กพิเศษได้อย่างมี ประสิทธิผล
• หลังจากผ่านการประเมินจากแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แล้ว จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักสูตร และวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นแผนการสอนรายบุคคล (IIP : Individual Implementation Program) ซึ่งเน้นวิธีการสอน และกระบวนการสอนอย่างเป็นระบบ มีลำดับขั้นตอนการสอนในเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชา
• การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัลอย่างมีเงื่อนไข
• ทำการประเมินผลการเรียนไปพร้อม ๆ กันกับการปรับเปลี่ยนแผนการสอนหากพบข้อบกพร่องในการเรียนการสอน นอกจากนี้ ควรสนับสนุนให้เด็กสามารถเรียนรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมถึงการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความรู้ และแสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ
• ขอบข่าย และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษ
• ทำการคัดกรองและประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อให้ทราบถึงระดับความสามารถ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
• ให้การส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมแก่เด็กตามพัฒนาการที่พึงประสงค์ในแต่ละช่วงวัย
• มีการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อพัฒนาการ และความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน
• ให้คำแนะนำและทำความเข้าใจแก่ผู้ปกครองหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก ว่าควรให้การส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กในด้านใดบ้าง เช่น ทักษะด้านการคิด ทักษะด้านวิชาการ ทักษะด้านการสื่อความหมาย และการใช้ภาษา เป็นต้น
• ให้การฝึกฝนและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ และถูกต้องเหมาะสมต่อ สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์
• มีการเสริมประสบการณ์พิเศษแก่เด็กเพื่อให้เด็กมี โลกทัศน์ที่กว้างขึ้นรวมถึงความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
กรณีตัวอย่าง
การจัดการเรียนการสอน "เรื่องวงรี" มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กสามารถ ชี้ หยิบ บอก วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นรูปวงรีได้ โดยนักการศึกษาพิเศษจะเริ่มสอนโดยการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อน เช่น ให้ร้องเพลงเกี่ยวกับไข่ จากนั้นให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่าลักษณะของไข่เป็นรูปวงรี เมื่อเด็กเห็นวัตถุต่างๆ รอบตัวที่มีลักษณะเหมือนไข่ เด็กจะสามารถสรุปได้ว่าเป็นรูปวงรี นอกจากนี้ ยังมีการใช้สื่อต่างๆ ประกอบในการสอน เช่น ให้เด็กตัดกระดาษ หรือให้เด็กใช้นิ้วระบายสีเป็นรูปวงรีร่วมด้วย
การจัดการเรียนการสอนเรื่องตัวเลข "0 - 9" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กสามารถ ชี้ หยิบ บอก ตัวเลข 0 - 9 ได้ โดยนักการศึกษาพิเศษจะเริ่มสอนโดยการเตรียมความพร้อมของเด็กก่อน เช่น ท่อง 1 - 10 พร้อมกัน ช่วยกันหาตัวเลขที่มีอยู่รอบๆ ห้องเรียน จากนั้นนำตัวเลขจำลองให้เด็กสัมผัสและใช้นิ้วมือลากตามตัวเลข พร้อมทั้งออกเสียงตามครูซ้ำ ๆ 5 - 7 ครั้ง ต่อ 1 ตัวเลข นอกจากนี้ ยังมีการใช้สื่อต่างๆ ในการสอน ตัวอย่างเช่น โรยทรายลงบนตัวเลขที่กำหนดให้ เป็นต้น
ในกรณีที่เด็กมีภาวะไม่อยู่นิ่ง บทบาทของนักการศึกษาพิเศษจะช่วยจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับภาวะอาการของเด็ก โดยจัดให้เด็กเรียนรู้ผ่าน กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เช่น เมื่อเด็กเรียนเรื่องวงรี อาจจะจัดวางรูปวงรีตามมุมต่าง ๆ ของห้องเรียน หรือ จัดการแข่งขันหาตัวเลขต่าง ๆ ตามคำสั่งของครู เพื่อให้เด็กสามารถเรียนร่วมกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนได้ และเมื่อเด็กทำได้สำเร็จจะก่อให้เกิดความภาคภูมิในใจตนเอง และมีความสนใจที่จะเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
สรุป
การแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษล้วนจะได้รับประโยชน์จาการเรียนร่วมกันสำหรับเด็กพิเศษสามารถเรียนรู้ทักษะทางสังคมและการช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น เด็กปกติก็เรียนรู้ความอดทน มีความเข้าใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่แตกต่างจากตน รวมทั้งมีความภาคภูมิใจที่ตนได้ช่วยเหลือคนอื่น
ที่มา
http://pookam.multiply.com/journal/item/10/10
http://www.specialchild.co.th/knowledge.asp?article=1
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)